
คุณคือคนหนึ่งที่กำลังมองหางานใหม่ใช่หรือเปล่า ? หรืออาจเป็นเด็กจบใหม่ที่เพิ่ง
ออกหางานผ่านเว็บไซต์สมัครงาน โดยถ้าคุณเคยผ่านการทำงานมาในระดับนึง
ย่อมรู้จักองค์กรที่มีชื่อเสียงรวมถึงจะเข้าใจลักษณะวัฒนธรรมขององค์กรซึ่งมีผล
ในการทำงานของตัวเราเองหรือแบบไหนที่เราเข้าไปทำงานแล้วแทบอยากจะยื่น
ใบสมัครออกเสียแทบวันนั้นเลยก็มีนะส่วนถ้ายังไม่มีประสบการณ์ทำงาน เราอาจ
เลือกสมัครงานโดยมองเพียงแค่มีสายงานที่สามารถสมัครได้ ใกล้บ้าน หรือ
ได้เงินเดือนตามต้องการ แต่คุณจะรู้ได้ไงว่าบริษัทนั้นๆน่าทำงานด้วยหรือเปล่า ?
เรามีข้อแนะนำสำหรับ บริษัทที่ไม่น่าร่วมงาน ทั้ง 10 แบบครับ
1. ตำแหน่งงานนี้ เติมเท่าไหร่ก็ไม่เคยเต็ม
ข้อแรกที่คุณควรสังเกตคือ อัตราคนเข้าทำงาน และลาออกมีสูงหรือเปล่า? บางองค์กร
อาจมีการจ้างพนักงานตำแหน่งเดิมๆอยู่ทุกๆหกเดือนหรือในหนึ่งปีเลยทีเดียว
การประกาศจ้างตำแหน่งงานซ้ำๆบ่อยๆ ย่อมเกิดจากมีการบริหารภายในที่ไม่ดี
หรือมีวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่โอเคอย่างแน่นอน
2. สัมภาษณ์งานพร้อมกัน ?!
ฟังดูไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ แต่บางบริษัทเลือกที่จะประหยัดเวลาในการสัมภาษณ์โดยการ
นัดผู้สมัครงานที่โชคดี(?)เข้าสัมภาษณ์โดยฝ่ายบุคคลพร้อมกันอีกด้วยถ้าบริษัท
ทีคุณยังไม่สามารถสัมภาษณ์งานแบบเดี่ยวรายคนได้แล้ว ขอแนะนำให้คุณอย่าไป
เสียเวลาที่นี่เลยดีกว่าเพราะบ่งบอกถึงความไม่เป็นมืออาชีพแล้วล่ะ
3. วัฒนธรรมและชื่อเสียงสุดฉาวโฉ่
ก่อนที่คุณจะเลือกสมัครงานกับที่ใดที่หนึ่ง คุณลองสำรวจชื่อเสียงขององค์กรนั้นๆ
จากในเว็บไซต์ต่างๆ โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียที่สามารถดูคอมเมนท์ต่างๆ
ตามเพจได้ เชื่อเถอะว่าเรื่องเหล่านี้มีผลกับการทำงานของคุณอย่างแน่นอน
แบบนี้คือ บริษัทไม่น่าร่วมงาน อย่างแน่นอน
4. สถานที่ทำงานดูไม่เป็นมิตร
ลองสังเกตดูในส่วนของบริเวณของพนักงานในระดับทั่วไปว่ามีการจัดสรรให้สามารถ
ทำงานอย่างเหมาะสมหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นแสงสว่างของโต๊ะทำงานความเป็น
ระเบียบเรียบร้อยในส่วนต่างๆ ย่อมบ่งบอกถึงการเอาใจใส่ต่อพนักงานขององค์กรนั้นๆ
ได้เป็นอย่างดี ลองนึกภาพหากคุณต้องเข้าไปทำงานในทางเดินที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์
เกะกะทางเดินหรือโต๊ะที่มีติดๆดับๆ คงต้องมีซักวันที่คุณอาจจะเดินสะดุดข้าวของ
หรือเสีย สุ ข ภ า พ ทั้งกายและใจแน่ๆ
5. บริษัทไม่มีตัวตนจริง
หลายครั้งที่บริษัทที่ประกาศรับสมัครคนอยู่ ทั้งเว็บไซท์มีข้อมูลระบุเพียงต้องการ
คนในตำแหน่งนั้นๆ แต่ไม่มีข้อมูลประวัติของบริษัท ยิ่งทำให้ดูเหมือนบริษัทหลอกลวง
และเป็นมิจฉาชีพเสียมากกว่า
6. ไม่มีการส่งเสริมด้วยการฝึกอบรมสำหรับการทำงาน
แน่นอนว่าองค์กรไม่เพียงแต่ต้องมีการอบรมอย่างเป็นทางการให้แก่พนักงาน
อย่างพอเหมาะเพื่อช่วยส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาตนเอง
(ซึ่งจะยิ่งช่วยพัฒนาองค์กรให้เติบโตได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย)
แต่ถ้าเป็นองค์กรที่ไม่ให้การสนับสนุนใดๆในการพัฒนาองค์กร
คงไม่คุ้มในการอุทิศแรงกายและใจในการทำงานเท่าใดนัก
7. ปล่อยให้รออย่างไร้จุดหมาย
หลังจากการสัมภาษณ์ผ่านพ้นไปด้วยดี เรามักจะรอคอยคำตอบจากฝ่ายบุคคล
ถึงผลการสัมภาษณ์งาน ซึ่งถ้าหากคุณได้รับการติดต่อพร้อมกับการต่อรองข้อ
เสนอต่างๆรวมถึงการที่บริษัทไม่กำหนดวันที่ให้คำตอบอย่างชัดเจน
คุณควรมองหาบริษัทร่วมงานที่อื่นดีกว่า
8. ไร้สิทธิ์ไร้เสียง จากด้านล่าง
ถ้าองค์กรที่คุณเลือกไปร่วมงานด้วยเต็มไปด้วยการตัดสินใจจากเหล่าผู้บริหาร
และผู้จัดการทั้งหมด แต่พนักงานระดับล่างไม่มีสิทธิ์มีเสียงหรือถูกมองข้ามไป
คุณเลือกทำงานที่อื่นเถอะ เพราะทุกความคิดเห็นของคุณจะถูกเพิกเฉย
อย่างแน่นอน
9. หนทางในสายอาชีพไม่ชัดเจน
ในสายอาชีพการทำงาน ทุกคนย่อมอยากเห็นการพัฒนาในสายอาชีพตนเอง
และแน่นอนว่าย่อมคาดหวังทิศทางที่ชัดเจนจากหัวหน้างานและฝ่ายบุคคลถึง
การพัฒนาตนเอง บริษัทไหนที่ไม่สามารถช่วยคุณพัฒนาความรู้และทักษะ
ในสายอาชีพการทำงานได้ คุณควรพิจารณาที่อื่นเช่นกัน
10. สัญญาณความไม่มั่นคงในองค์กร
บริษัทที่ทุกอย่างดูดำเนินกิจการไปอย่างราบรื่น แต่กลับไม่มีทิศทางในการดำเนินงาน
ที่ชัดเจนในอนาคต และผู้บริหารระดับสูงไม่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายได้
บ่งบอกถึงสัญญาณความไม่มั่นคงในองค์กรเช่นเดียวกัน รู้อย่างงี้แล้วก็
อย่าไป เ สี่ ย ง เลยดีกว่า
สำหรับ 10 อันดับดังกล่าว เป็นแนวทางในการประเมินองค์กรที่จะไปร่วมงานด้วย
ซึ่งยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเดินทาง ค่าครองชีพ
หัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานอีกด้วยขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนได้งานจากองค์กร
ที่มีคุณภาพสมปราถนาทุกคนครับ
ที่มา : j o b s d b