Home ข้อคิด คน 8 ประเภทนี้ ไม่สมควรเรียกตัวเองว่า “เจ้านาย”

คน 8 ประเภทนี้ ไม่สมควรเรียกตัวเองว่า “เจ้านาย”

3 second read
0
0

1.เจ้านายทรงอำนาจ

เจ้านายประเภทนี้ จะดีแต่ออกคำสั่ง มักแสดงพฤติกรรมการใช้อำนาจขณะทำงาน

หรือสั่งงานบางคนถึงกับเสียงดัง ตะโกน ตะคอกใส่ลูกน้องเพื่อให้ยำเกรง

แต่พฤติกรรมเช่นนี้กลับทำให้ลูกน้องเอือมระอา และไม่เคารพศรัทธาเจ้านาย

แม้แต่น้อย

2.เจ้านายผู้สูงส่ง

เป็นลักษณะเจ้านาย ที่ลูกน้องเข้าถึงได้ยาก ไม่ใกล้ชิด ไม่เคยไถ่ถาม ส า ร ทุ ก ข์ สุ ก ดิ บ

และความเป็นไปของลูกน้องเมื่อลูกน้องมีปัญหาก็ไม่กล้าที่จะขอคำปรึกษา

เพราะรู้สึกมีช่องว่าง ไม่ผูกพัน และไม่สนิทใจที่จะพูดคุยด้วย

3.เจ้านายจอมคลุมเครือ

เจ้านายลักษณะนี้ มักจะสั่งงานแบบไม่เคลียร์ ไม่บอกเป้าหมายของงานที่

ต้องการให้ชัดเจน ไม่ให้คำแนะนำหรือรายละเอียดมักตีวงงานกว้าง ๆ

ให้ลูกน้องกลับไปคิดเอง ทำให้คนทำงานสับสนไม่รู้จะเริ่มต้นที่ตรงไหน

จนทำให้งานออกมาไม่สมบูรณ์ครบถ้วน และต้องเสียเวลาแก้ไขใหม่

4.เจ้านายนักสร้างปัญหา

เจ้านายประเภทนี้ มักจะนำปัญหาที่ตนก่อมาให้ลูกน้องช่วยแก้ไข หรือ

บางครั้งที่งานมีปัญหาจำเป็นต้องให้เจ้านายเป็นผู้ตัดสินแต่เจ้านาย

กลับตัดสินใจ ไม่เด็ดขาด ไม่ ฟั น ธง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดเวลา

ไม่มั่นคงกับความคิดของตนเองต้องถามคนโน้นคนนี้เพื่อเติมความมั่นใจ

ส่งผลให้งานยิ่งล่าช้า

5.เจ้านายจอมเร่ง

การทำงาน ให้เสร็จก่อนเวลาถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่บางครั้งเจอเจ้านายประเภท

ที่ชอบเร่งงานลูกน้องโดยไม่มีเหตุผลเร่งทุกงาน ต้องการความด่วนทุกโปรเจกต์

โดยไม่จัดลำดับความสำคัญว่างานไหนควรเร่งให้เสร็จก่อนเสร็จหลังจึงมัก

เอ่ยปาก ขอลูกน้องให้อยู่ดึก หรือทำงานในวันหยุด ทั้งๆ ที่งานบางงาน

ไม่จำเป็นต้องเร่งขนาดนั้น

6.เจ้านายแสนดราม่า

เจ้านายที่ต่อหน้าผู้อื่น แสดงตัวว่ารักลูกน้อง ทำเพื่อลูกน้อง ปกป้องลูกน้องทุกสิ่ง

เวลามีปัญหาเหมือนว่าจะออกหน้ารับแทนแต่ความจริงแล้ว ไม่เป็นอย่างที่แสดงออก

บางทีอาจเป็นเบื้องหลังของตัวการปัญหาทั้งหมดเสียเองเจ้านายลักษณะนี้

ลูกน้องคนไหน ก็ไม่อยากทำงานด้วยอย่างแน่นอน

7.เจ้านายผู้จุกจิก

คือเจ้านาย ที่จุกจิกทุกฝีก้าว คอยจับตามองคุณทำงานในทุกรายละเอียด

ไม่ปล่อยให้คุณมีอิสระในการทำงานไม่ให้โอกาสในการคิดและสร้างสรรค์งาน

ด้วยตนเอง จนทำให้ลูกน้องรู้สึกอึดอัด ขาดความมั่นใจ และเบื่อหน่ายในที่สุด

8.เจ้านายนักขโมย

นักขโมยในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงโจร แต่หมายถึงการขโมย เครดิตของลูกน้อง

มักจะพบได้กับเจ้านายที่สะสางงานที่คั่งค้างของตนเองไม่สำเร็จต้องให้ลูกน้อง

ช่วยจัดการ แต่เมื่องานบรรลุเป้าหมาย อย่างสวยงาม กลับบอกว่าเป็นผลงาน

ตัวเอง ไม่ให้เครดิตแก่ลูกน้องหรือทีมงานแม้แต่น้อย

ที่มา : j o b d b

Load More Related Articles
Load More By sabailey99
Load More In ข้อคิด

Check Also

7 ลักษณะเพื่อนแย่ๆ เพื่อนนิสัยแบบนี้..เลิกคบเถอะ

โดยปกติแล้วชีวิตของคนเรา จะต้องเจอผู้คนมากมาย นิสัยก็แตกต่างกันออกไป บางคนก็เข้ามาดี บางคน…