
1. ลองแบ่งเงินออมไว้ก่อน
การแบ่งเงินออมไว้ก่อน อาจจะเดือนละ 500 บาท หรือ 1,000 บาท โดยแยก “เงินออม” กับ “เงินใช้จ่าย” ให้ชัดเจน ที่ไม่ว่าอย่างไร เราจะไม่นำเงินออมก้อนนี้ ออกมาใช้เด็ดขาด และห้ามยืมเงินออมมาใช้แล้วค่อยใช้คืนตัวเอง แบบนี้ห้ามทำ! ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้เราสามารถใช้จ่ายได้อย่างอิสระมากขึ้น
เพราะรู้ว่าไม่ว่าอย่างไรเราก็มีเงินออมที่กันไว้แล้วนั่นเอง หลาย ๆ คน ที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะใช้จ่ายแล้วค่อยนำเงินมาออม ซึ่งตรงนี้ส่วนมากจะใช้จ่าย จนเหลือเงินออมในสัดส่วนที่น้อย หรือบางครั้งไม่มีเงินเหลือเก็บเลย
2. ลองลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
การเริ่มปรับวิธีคิด หรือ Mindset ต่อการใช้จ่าย ทางการเงินให้รู้จักคุณค่ามากขึ้น ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจ โดยจะต้องรู้ว่า สิ่งใดที่ใช้จ่ายแล้วเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น หรือไม่สามารถลดลง หรือตัดทิ้งได้ สิ่งไหนที่ยอมเป็นหนี้จนถึงวันที่สามารถชำระหนี้จนหมด
แล้วสิ่งนั้นไม่ “เสื่อมราคา” หรือกลับกัน ที่อาจจะ “มีมูลค่าสูงขึ้น” ตรงนี้ไม่สามารถระบุได้แน่ชัด ขึ้นอยู่กับความจำเป็น ของแต่ละคนเช่น บางคนอาจจะจำเป็นต้องมีรถยนต์เพื่อใช้ในการทำงาน แต่อาจจะพึ่งเริ่มทำงาน รายได้ต่อเดือนยังอยู่ในระดับที่น้อย หรือความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ
การซื้อรถมือหนึ่งอาจจะเป็นหนี้ก้อนใหญ่และใช้ระยะเวลาในการผ่อนชำระนาน ซึ่งทำให้ต้องเผชิญ กับอัตราดอกเบี้ยที่สูง อาจลองเปลี่ยนเป็นซื้อมือสองในสภาพที่พอใช้งานได้มาใช้ก่อน ซึ่งจะทำให้เราสามารถประหยัดเงินได้มากขึ้นเช่นกันเพราะถึงอย่างไร
รถยนต์ในตลาดก็มีมูลค่าที่ลดลงอยู่ดีเมื่อผ่านไป 3-7 ปี โดยตลอดระยะเวลา อาจจะต้องมีค่าบำรุงรักษาต่าง ๆ อีกด้วยตลอดทาง ซึ่งถึงตอนนั้นก็อาจจะต้องเปลี่ยนรถเป็นคันที่สอง โดยอาจจะซื้อรถมือหนึ่ง ตอนอายุ 35-40 ปี จนถึงตอนนั้นก็มีความสามารถในการชำระหนี้ที่สูงขึ้น มีเงินดาวน์มากขึ้น
ระยะเวลาผ่อนชำระลดลง มันก็ช่วยให้เรามี สุ ข ภ า พ ทางการเงินที่ดีขึ้นสิ่งที่เป็นตัวรั้งความสำเร็จของคนเรา คือ “การก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น” “การใช้จ่ายเกินตัว” “การต้องมีทุกอย่างเหมือนคนอื่น” “#ของมันต้องมี”
เพราะเราไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์สินหรูหรา เพื่อให้ใครดู เพราะไม่มีใครมาสนใจชีวิตเราหรอก ตอนที่ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายหนี้สินได้ ถ้ายอมรับลดสิ่งเหล่านั้นลง ก็จะมีเงินเก็บมากขึ้นนั่นเอง
3. ลองตั้งเป้าหมายใหญ่ และเป้าหมายย่อยไว้แบบขั้นบันได
การ “เก็บเงิน 100,000 บาท” อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก สำหรับใครหลายคน และดูเป็นอะไรที่ต้องใช้เวลานาน และอาจทำให้เกิดความท้อแท้ใจจนล้มเลิกความตั้งใจไปกลางทางได้ ดังนั้น ให้ลองตั้งเป้าหมายใหญ่ไว้กับตัวเอง เช่น “ฉันจะเก็บเงินทุกวิถีทางให้ได้ 100,000 บาทแรกใน 5 ปี
และในปีแรกฉันจะเก็บเงินให้ได้ 10,000 บาท” ซึ่งการที่เราตั้งเป้าหมายไว้ที่ 10,000 บาท แรกก่อน ซึ่งอาจจะตกเดือนละ 1,000 บาท จะทำให้เรารู้สึกว่าเราทำได้ และเรามีกำลังใจในการทำต่อไปมากยิ่งขึ้น
หากผ่านเป้าหมายแรกไปได้ ก็มีโอกาสที่จะสามารถเก็บเงิน 100,000 บาทแรกสำเร็จ ได้ใน 5 ปีที่ตั้งไว้ หรือ อาจจะเร็วกว่านั้นหากเราลองทำในข้อถัด ๆ ไป
4. ลองลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี
สมมติว่า เก็บเงินจนใกล้จะครบ 100,000 บาท หากใช้วิธีการเก็บเงินอย่างเดียว อาจจะต้องใช้เวลาที่นานมากขึ้น เช่น หากว่าสามารถเก็บเงินได้เดือนละ 1,000 บาท เท่ากับว่า ต้องใช้เวลาทั้งหมด 8 ปี ในการเก็บเงิน 100,000 บาทแรก ซึ่งตั้งเป้าไว้ที่ 5 ปีเท่านั้น
แต่หากลงทุนสม่ำเสมอเดือนละ 1,000 บาท อาทิ ฝากประจำ ที่ให้ผลตอนแทนประมาณ 1.5% ต่อปี หรือ อาจศึกษาการลงทุนในกองทุน หุ้น ที่มีผลตอบแทนที่ มากขึ้น เมื่อผลตอบแทนมากขึ้น เช่น 3% จะใช้เวลาเหลือประมาณ 7 ปี ในการออมเท่านั้นเอง
เท่าที่อ่านมาก็ยังรู้สึกว่าไม่ได้แตกต่างกัน มากเท่าไหร่ใช่ไหม ให้ลองอ่านข้อถัดไปทั้งนี้ การลงทุนทุกอย่างต้องมีการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดจนเข้าใจ และต้องสามารถยอมรับระดับความ เ สี่ ย ง ที่จะเกิดขึ้นได้ จำไว้ว่า “เราไม่ควรสูญเสียเงินต้นระหว่างทาง”
5. ลองเพิ่มจำนวนเงินที่ออม
เมื่อลดรายจ่าย ที่ไม่จำเป็นจากข้อที่ 2. ไปได้แล้ว ให้ลองนำเงินส่วนนั้นมาลงทุนเพิ่มดู จะทำให้ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเก็บเงินลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น หากสามารถเพิ่มเงินออมจาก 1,000 บาท/เดือน เป็น 1,650 บาท/เดือน ที่ผลตอบแทน 1.5% ต่อปี จะใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 5 ปี จากเดิม 8 ปี
ซึ่งถ้าค่อย ๆ เพิ่มจำนวนเงินที่ออมมากขึ้น มันก็ย่อมทำให้ถึงเป้าหมายได้ไวขึ้นหรือเมื่อได้รับผลตอบแทนในรูปของเงิน ให้นำเงินเหล่า นั้นกลับมาลงทุนต่อ อย่านำไปใช้จ่าย เพราะข้อที่ 1. เราได้ปฏิญาณกับตัวเองแล้วว่า จะไม่นำเงินออมหรือเงินลงทุนมาใช้จ่าย ซึ่งก็จะทำให้ถึงเป้าหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ก็อาจจะเพิ่มจาก 1,650 บาท เป็น 1,800 บาท/เดือน ใช้เวลาออมทั้งสินเพียง 4 ปีครึ่งเท่านั้นหรือ ออมในรูปของเหรียญและเงินทอน ที่ได้มาไปหยอดใส่กระปุก หรือ ลิ้นชักที่ห้องพัก 1 บาทก็มีค่า ลองสะสมแบบลืม ๆ ไปเรื่อย ๆ เผื่อนำออกมานับอาจจะได้หลักพันบาทเลยทีเดียว
สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “การทวีคูณดอกเบี้ยทบต้น” หรือ Compounding Effect”ซึ่งการนำผลตอบแทนที่ได้กลับเข้ามาใส่ต่อ และเพิ่มเงินออมเติมไปทุกเดือน ๆ จะช่วยให้มูลค่าของสินทรัพย์เพิ่มขึ้น และช่วยลดระยะเวลาในการไปถึงเป้าหมายได้มากเลยทีเดียว เพราะการมีเงินออมต่อเดือนที่มากขึ้น ย่อมมีผลตอบแทนที่มากขึ้นด้วยนั่นเอง
6. ลองสร้างวินัยทางการเงินที่ดี
สุดท้าย การสร้างวินัย การออมที่ดีที่พูดมาทั้งหมด จะสำเร็จไม่ได้เลย หาก “ขาดวินัย” หรือ “การควบคุมจิตใจตัวเอง” การควบคุมจิตใจเป็นเรื่องที่ยากที่สุด แล้วในการเงินในการกำจัดความคิดที่ว่า “ของมันต้องมี” การควบคุมจิตใจไม่ให้นำเงินเก็บออกมาใช้ระหว่างทาง
การมีวินัยในการทำให้ตัวเองสามารถหักเงินออมก่อนใช้ ให้ได้ทุกเดือน การควบคุมให้ตัวเองไม่ใช้จ่ายเงินจนเกินตัวการทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายในทุก ๆ เดือน ซึ่งเดี๋ยวนี้มีแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนที่ช่วยทำให้เรารู้สัดส่วนค่าใช้จ่ายของเราว่า เราใช้จ่ายอะไรไปบ้าง อะไรใช้จ่ายสูงที่สุด
ส่วนตัวของเจ้าของเคสเอง ใช้วิธีการจัดธนบัตร ในกระเป๋าสตางค์ของตัวเอง เช่น นำธนบัตรแบงค์ 1,000 บาท ไว้ในสุด ไล่เรียงออกมาจนถึงธนบัตรใบละ 20 บาท ซึ่งนั่นจะทำให้เราค่อย ๆ ทยอยใช้เงินจากธนบัตรใบละ 20 บาทไปก่อน แล้วค่อยไปถึงธนบัตรใบละ 1,000 บาท
บางครั้งจะมีความรู้สึกว่า “ไม่อยากแตกแบงค์พันเลย” ก็ช่วยได้เยอะมากในการออมเงิน เพราะหากเราไม่เรียงธนบัตร ใส่แบบปนกันไปมา บางครั้งจ่ายแบงค์ร้อย บางครั้งจ่ายแบงค์พัน ก็จะทำให้เราหยิบใช้จ่ายแบบไม่มีการไตร่ตรองได้เช่นกัน แต่ยุคสมัยนี้ก็เป็นยุคสังคมไร้เงินสด ก็อาจจะทำได้ยากขึ้นกว่าเดิม
อาจจะลองปรับเปลี่ยนวิธีที่เข้ากับตัวเองดู เช่น ให้กำหนดไว้ว่า เราจะเหลือเงินคงบัญชีไว้ 1,000 บาททุกเดือน เพื่อสามารถนำไปเป็นเงินออมเพิ่มเติมได้ในข้อที่ 5.เช่น เหลือเงินในบัญชี 1,789 บาท ก็ให้ลองบอกตัวเองให้ใช้เพียงแค่ 789 บาท
หรือ เหลือเงินในบัญชี 789 บาท ในวันก่อนเงินเดือนเข้า ให้ลองใช้จ่ายแค่ 289 บาท ในวันนั้น พรุ่งนี้ก็จะมีเงิน 500 บาท ไปทบกับเงินเดือนเข้าใหม่ ก็จะช่วยลดระยะเวลาไปได้อีก
โดยสรุป อาจปรับแผนต่าง ๆ ให้รู้สึกสบาย ๆ ไม่เข้มงวด จนเกินไป แต่ก็ไม่เหลวไหลจนเกินไปด้วย เพราะหากเข้มงวดเกินไป อาจทนไม่ไหวและยกเลิกไปกลางทาง นั่นก็ยิ่งทำให้ไม่มีกำลังใจในการเริ่มสร้างความมั่งคั่งอีกครั้ง
สุดท้ายนี้ ฝากไว้ด้วยคำสอน ของครอบครัวที่จำใส่ใจไว้ตลอด ..
“ .. พ่อแม่ มั่งมี ลูกไม่รู้จักรักษาไว้ ไม่รู้จักหาเพิ่ม ไม่รู้คุณค่า วันหนึ่งก็หมดได้
พ่อแม่ ไม่มั่งมี ลูกรู้จักหาเพิ่ม รู้จักคุณค่า รู้จักรักษาไว้ วันหนึ่งก็มั่งมีได้ ..”
และที่สำคัญ .. “การลงทุนระยะยาว มีเวลาเป็นเครื่องมือสร้างผลตอบแทน”
ขอขอบคุณ m o n e y b u f f a l o