
1. เมื่อลูกเริ่มนับเลขเป็นให้เริ่มสอนลูกเรื่องเงินได้เลย
เตรียมพร้อมทักษะให้ลูกรู้จัก เรื่องเงินแบบง่าย ๆ เช่น ให้รู้ค่าว่าเหรียญ 1 – 5 – 10 บาท
มีหน้าตาต่างกันอย่างไร มีค่าต่างกันอย่างไร ทำไมเวลาจะ ซื้ อ ของถึงต้องใช้เงิน เป็นต้น
2. สอนลูกเรื่องเงินราวกับว่าเขาโตพอที่จะใช้เงินเป็นได้แล้ว
สอนให้ลูกรู้วิธีที่จะเก็บเงินอย่างไร และทำอย่างไร ให้เงินมีมูลค่างอกเลยขึ้นมา และ
สิ่งที่สำคัญคือการสอนให้รู้จักใช้เงินอย่างระมัดระวัง ไม่สุรุ่ยสุร่ายหรือ ซื้ อ ของโดย
ไม่จำเป็นนั้นทำอย่างไร เพราะพฤติกรรมการใช้เงินของพ่อแม่นั้นมีผลต่อลูก
การใช้เงินของลูกในอนาคต เด็ก ๆ จะเรียนรู้และสังเกตสิ่งที่พ่อแม่ทำซ้ำบ่อย ๆ ได้ดี
3. สอนลูกให้เข้าใจถึงความแตกต่างในการใช้เงินระหว่าง “ความจำเป็น / ความต้องการ / ความอยาก”
หากลูกสามารถแยกความแตกต่าง ระหว่าง 3 คำนี้ได้ จะเป็นพื้นฐานในการ
ตัดสินใจใช้จ่ายเงินที่ดีของเขาในอนาคต
4. สอนลูกเรื่องเงินให้รู้จัก “การตั้งเป้าหมาย + เรียนรู้คุณค่าของเงิน + การออม”
การสอนให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมาย ในระยะสั้น เช่น เมื่อลูกอยากได้ของเล่นก็ให้ลูก
ตั้งเป้าเพื่อ ที่จะเก็บเงิน ซื้ อ จั ก ร ย า น ด้วยตนเอง ไม่ใช่เมื่อลูกอยากได้แล้ว
พ่อแม่จะ ซื้ อ ให้ลูกทันทีหรือใช้วิธีร้องไห้ชักดิ้นชักงอจนพ่อแม่ต้องยอมใจ
ถ้าเป็นของที่ราคาสูง ก็ให้ตั้งเงื่อนไข ของระยะเวลาที่สะสมเงิน ได้เท่าไหร่
เมื่อครบกำหนดพ่อแม่จะช่วยออกเงินอีกครึ่งหนึ่งและต่อไปก็เริ่มให้ตั้งเป้าหมาย
ใ น ร ะ ย ะ ย า ว มากขึ้น เพื่อให้ลูกเรียนรู้ที่จะมีความรับผิดชอบและวางแผน
จัดการการเงินด้วยตนเองเป็น
5. แนะนำลูกเรื่องการออมและการใช้จ่ายให้เป็น
สอนให้ลูกเข้าใจ เรื่องการออมเงินธนาคาร เช่น เมื่อลูกฝากเงินกับธนาคารสิ่งที่
ได้เพิ่มขึ้นมาคือ ด อ ก เ บี้ ย เงินออม เด็ก ๆ จะได้เห็นประโยชน์จากการออมและ
มีส่วนในการคิดคำนวณ ด อ ก เ บี้ ย ที่เขาจะได้ ที่สำคัญลูกจะได้เรียนรู้ว่าวางแผน
ออมเงินอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ
6. ให้ค่าขนมมากพอที่ลูกจะทำมาเป็นเงินเก็บของเขา
เช่น ถ้าคิดจะให้ลูกใช้เงินค่าขนมวันละ 20 บาท ก็ควรให้เพิ่มอีก 5 บาท และ
สอนให้ลูกเก็บเงินกลับมาออมอย่างน้อยวันละ 5 บาท บอกกับลูกว่าทุก ๆ วันละ 5 บาท
เมื่อครบหนึ่งปี ลูกจะได้เงินทั้งหมดเท่าไหร่ และหากนำไปฝากธนาคารลูกจะ
มีเงินต้นรวม ด อ ก เ บี้ ย ทั้งหมดเท่าไหร่ ซึ่งจะทำให้ลูกได้ถึงประโยชน์
ของการออมมากขึ้น
7. พาลูกเปิดบัญชีธนาคาร
เมื่อเริ่มฝึกให้ลูกรู้จัก การออมตั้งแต่เด็ก เวลาที่ลูกจะขอเบิกเงินของเขา ไป ซื้ อ
ในสิ่งที่ต้องการ อย่าไปห้ามหรือกดดันลูกในการที่นำเงินออกไปใช้แต่ชี้ให้ลูก
เห็นเป้าหมายในเงินออมของเขา แล้วให้ลูกลองตัดสินใจใช้เงินด้วยตัวเอง
อย่าไปคิดที่จะให้ลูกทำตามความคิดของพ่อแม่ไปทุกอย่างนะคะ
เพราะลูกโตกว่าที่เราคิดไว้มากนะ
8. สร้างนิสัยการออมสอนให้ลูกจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย
สอนให้ลูกทำบันทึกการออม แล้วสรุปบัญชีแบบง่าย ๆ ในตอนสิ้นเดือน แล้วอธิบาย
ให้ลูกดูว่าจำนวนเงิน ของลูกเพิ่มขึ้นหรือลดลง จนครบปีแล้วมาสรุปจำนวนเงินกันอีกครั้ง
9. สอนลูกเรื่องค่าของเงิน
พาลูกไป ซื้ อ ของใช้ประจำบ้าน เพื่อให้ลูก ได้มีประสบการณ์ในการใช้จ่ายเงิน
ใช้โอกาสนี้สอนลูกเรื่องการ ซื้ อ ของใช้จำเป็นและสิ่งไหนที่ฟุ่มเฟือยการ
วางแผนก่อนการ ซื้ อ ของ การใช้คูปองลดราคา การเปรียบเทียบราคาของ
สอนลูกให้รู้ถึงวิธีตรวจสอบราคาและคุณภาพ วันหมดอายุของสินค้าก่อน ซื้ อ
10. ปล่อยให้ลูกได้ตัดสินใจใช้เงินในแบบของเขาเอง
ไม่ว่าจะถูกหรือจะผิดลูกจะได้เรียนรู้วิธีการใช้เงินของเขา โดยพ่อแม่
อาจให้คำแนะนำเบื้องต้น แนะให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียเมื่อลูกจะวางแผนหรือ
ล ง ทุ น ในจำนวนเงินที่มีของเขาเช่น การค้นหาข้อมูลให้ดีก่อน ซื้ อ
ของชิ้นใหญ่หรือราคาแพง การ ซื้ อ ในช่วงที่มีโปรโมชั่น หรือช่วงลดราคา
ให้คิดถึงการใช้เงินแบบมีเหตุผล
11. สอนให้ลูกรู้จักคำชวนเชื่อต่าง ๆ จากสื่อออนไลน์ โ ฆ ษ ณ า ในโทรทัศน์ ฯลฯ
สอนให้ลูกรู้ว่าแบบไหนคือ โ ฆ ษ ณ า ชวนเชื่อ แบบเกินจริงหรือเปล่า
เปรียบเทียบสินค้าชนิดเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อกันมีราคาที่ต่างกันหรือเปล่า
ราคาแพงเกินจริงกว่าคุณภาพหรือตัวสินค้าไหม พ ย า ย า ม
อธิบายให้ลูกเห็นบ่อย ๆ ทุกครั้งที่มีโอกาส นั้นจะทำให้ลูกรู้จักใช้เงินเป็นมากขึ้น
12. เตือนให้ลูกเห็นผล ร้ า ย จากการกู้ยืมเงิน
ปัจจุบันมีแหล่งที่พร้อมจะให้ยืม เงินสดหรือการออกบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด
ให้ใช้ได้อย่างง่ายดายโดยอาจจะเผลอใช้จ่ายออกไปไม่ทันได้คิดถึง ด อ ก เ บี้ ย
ที่ตามมาและจำนวนเงินที่ต้องคืน ควรสอนให้ลูกรู้จัก อั น ต ร า ย
ในเรื่องนี้ตั้งแต่เล็ก ๆ
13. สอนลูกก่อนเริ่มใช้บัตรเครดิต
จำเป็นต้องสอนนับ แต่วันที่ลูกโตขึ้น ให้ลูกเข้าใจถึงประโยชน์ และ
โทษของบัตรเครดิต ความจำเป็นในการใช้บัตรเครดิตใน ย า ม
ที่จำเป็นรู้จักวิธีใช้ วิธีคิด ค่าธรรมเนียม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ด อ ก เ บี้ ย
ค่าปรับถ้าจ่ายไม่ทันกำหนด ฯลฯ รวมถึงวิธีป้องกันกลการโกง
บัตรเครดิตต่าง ๆ ให้ลูกด้วย
14. ใช้เวลาครอบครัวแสดงความคิดเห็นเรื่องของเงิน
ให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องการ ใช้เงินตัวเองในแต่ละวัน
หรือปัญหาเรื่องเงิน เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้ลูกแนะนำวิธี
การใช้จ่ายหรือแนะแนวทาง การเพิ่มจำนวนเงิน ให้มากขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ
ที่ลูกสามารถทำได้
ขอขอบคุณ t h.t h e a s i a n p a r e n t