
1. หัวหน้าตาชั่งเอียง ไม่ยุติธรรม มีอคติ เลือกรักลูกน้องบางคนชังลูกน้องบางคน
ใช้มาตรฐานที่แตกต่างในการบริหารจัดการทีม
2. หัวหน้าหุ่นยนต์ ไร้หัวใจ ออกคำสั่ง เผด็จการ และใช้งานเหมือนลูกน้อง
เป็น ท า ส ทำตัวเป็นนาย ไม่เป็นผู้นำ ไม่เคยชม มีแต่ติลูกน้องเท่านั้น
3. หัวหน้าขาดจรรยาบรรณ ประพฤติตนไม่ดีไม่น่าเคารพ ด่าทอ พูดคำหยาบ
ไม่รักษาสัญญา อาจรวมถึงกรณีที่สั่งให้ลูกน้องทำงานนอกกฎและให้ทำ
ในสิ่งที่เอื้อประโยชน์กับตัวเองไม่ใช่องค์กร
4. หัวหน้าขาดวุฒิภาวะ อารมณ์ไม่มั่นคง เจ้าอารมณ์เดี๋ยวดีเดี๋ยว ร้ า ย หรือ
เจ้าคิดเจ้าแค้น อ่อนไหวเกินปรกติ
5. หัวหน้าที่รู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่การงานของตัวเองมักชอบเอาดีเข้าตัว
และโยนความผิดให้ลูกน้อง ไม่สอนงาน ไม่พัฒนาเพราะกลัวลูกน้องมาแทนที่ได้
บางรายอาจทำให้ทีมมีปัญหากันเพื่อแบ่งแยกในการปกครองลูกน้อง
(divide and conquer)
6. หัวหน้าที่ไม่ไว้ใจลูกน้อง ชอบล้วงลูกบริหารจัดการในรายละเอียด
จนลูกน้องไม่มีอิสระในการคิดการจัดการ
7. หัวหน้าที่ไม่ สื่ อ ส า ร ไม่พูด ไม่มอบหมายงานอย่างชัดเจน
รวมถึงไม่ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ลูกน้องไม่พูดคุยเรื่องการประเมินผล
อาจเกิดจากกรณีที่ขาดทักษะการสื่อ ส า ร หรือไม่กล้าเผชิญหน้า
8. หัวหน้าที่ไม่เคารพเวลา บางรายโทรหาลูกน้องเช้า กลางวัน เย็น
ไม่เว้นวันหยุดวันนักขัตฤกษ์ หรือแม้วันที่ลูกน้องลาพักร้อน
โดยส่วนใหญ่มักไม่ได้เป็นเรื่องงานสำคัญที่ต้องติดต่อลูกน้องเดี๋ยวนั้น
แต่เป็นเพราะตนเองว่างจึงคาดหวังว่าลูกน้องจะต้องว่างคุยด้วย
9. หัวหน้าที่ขาดความสามารถ ขาดความรู้ในหน้าที่ที่รับผิดชอบ
ซึ่งอาจส่งผลให้ขาดการตัดสินใจหรือตัดสินใจช้า
ไม่ช่วยลูกน้องแก้ปัญหา
10. หัวหน้าที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่ชอบทำงาน และให้ลูกน้องทำงานแทน
10 แบบนี้เป็นเพียงกรณีตัวอย่างที่ได้พบเห็นบ่อยๆ ในองค์กรใดก็ตาม
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหน่วยงานที่มีหัวหน้าแบบดังกล่าวก็มักประสบปัญหา
คนลาออกสูงหรือลูกน้องขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน ในกรณีที่ รุ น แ ร ง มาก
และไม่ได้รับการแก้ไขผลที่ตามมาในที่สุดก็คือหน่วยงานนั้นจะขาดกำลังคน
ทีมงานแตกแยก ผลงานไม่ดีและต้องมีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานทางใดทางหนึ่ง
ในที่สุดแถมยังมีผลการศึกษาด้วยว่า คนตัดสินใจเข้าทำงานเพราะตัวองค์กร/
เนื้องาน/เงินดือนที่พอใจแต่ออกจากงาน เพราะหัวหน้าไม่ดี/รับหัวหน้า
ไม่ได้ลองนึกย้อนถึงตัวเองดูท่านใดเป็นหัวหน้าที่ลูกน้องไม่เคยกล่าวขอบคุณ(อย่างจริงใจ)
เลยคงต้องลองตรวจสอบตัวเองว่าเข้าข่ายลักษณะที่ลูกน้องไม่ปลื้ม (สุดๆ) ดังกล่าวหรือไม่
หากสะท้อนภาพตัวเองไม่ชัด คำแนะนำคือขอให้ฟังให้มากและฟังให้ดีท่าน
อาจขอข้อมูลย้อนกลับจากลูกน้องเอง โดยเมื่อฟังข้อมูลแนะให้ฟังทั้งหู (Ears) ตา
(Eyes) ความคิด (Mind) และหัวใจ (Heart)คือ นอกจากฟังอย่างตั้งใจแล้ว
ต้องใช้ตาลองสังเกตปฎิกิริยาของคนอื่นใช้ใจที่เปิดกว้างในการฟังโดยไม่มีอคติ
รวมถึงฟังแบบเอาใจเขามาใส่ใจเราหากลูกน้องมองว่าท่านเข้าข่ายหัวหน้าที่
ไม่น่าปลื้ม ปรับปรุงวันนี้ก็ยังไม่สายเพราะในเบื้องต้นคนโชค ร้ า ย คนแรกคือ
ลูกน้อง แต่ในที่สุดแล้วก็คือตัวท่านเองเมื่อลูกน้องชักแถวกันลาออก หรือ
ขาดกำลังใจในการทำงานในทางตรงกันข้าม หากท่านเป็นหัวหน้าที่ดีที่ลูกน้องปลื้ม
เชื่อว่าท่านคงไม่ต้องรอจนวันที่ 16 ตุลาคมของทุกปีให้ลูกน้องมาขอบคุณเพราะ
ลูกน้องคงหาโอกาสที่จะมาขอบคุณท่านอยู่แล้วเรื่อยๆแม้ว่าจะถึงวันที่หัวโขน
ของท่านหายไป หรือท่านไม่ได้อยู่ในตำแหน่งแล้วก็ตาม
ที่มา : m e d i n f o.p s u