
Q: ผมเพึ่ง เข้ารับงานใหม่ในตำแหน่ง หัวหน้าระดับต้น ต้องคุมลูกน้อง 2-3 คน แต่ปัญหาคือ ลูกน้องไม่ชอบหน้าผมเท่าไหร่ เพราะเหมือนผมเข้ามาแทนตำแหน่งที่เขาหมายตาไว้
อายุผมกับลูกน้องไม่ได้ต่างกันมากเขาก็ไม่ค่อยเกรงใจ เวลามีปัญหาเกิดขึ้น มักจะเข้าหาหัวหน้าที่ ตำแหน่งสูงกว่าผมแทน ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าผมคุมลูกน้องไม่ได้
ผมควรจะทำอย่างไรกับสถานการณ์แบบนี้ดีครับ
A: ปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา สาเหตุที่แท้จริง คือ ลูกน้องไม่ยอมรับหัวหน้าในฐานะหัวหน้า
1. เมื่อเข้าไป คุมทีม ใหม่ๆ อย่า “กร่าง” (โอ้อวด มีอัตตา) มากเกินไปจนคนอื่นๆ ห มั่ น ใ ส้ ในขณะเดียวกันก็อย่า “หงอ” (กลัว ดูไม่มั่นใจ) มากเกินไป
จนคนอื่นๆ ขาดความมั่นใจวางตัวธรรมดา อย่าอวดความเก่งมากเกินไปแต่ก็อย่าถ่อมตัวจนเกินไป เดินทางสายกลาง
2. เมื่อเริ่มต้น คุมทีม จงทำให้ลูกทีม รู้สึกว่า “ตั้งแต่หัวหน้าเข้ามาชีวิต พวกผมง่ายขึ้น” โดยการมองหาโอกาส ที่จะช่วยเหลือสนับสนุนหรือแก้ปัญหาที่คาราคาซังมานาน ให้กับพวกเขาไม่ใช่เข้ามาปุ๊บก็เริ่มจัดระเบียบกำหนดขั้นตอนการทำงานใหม่ อย่างรัดกุม
เพิ่มปริมาณของรายงานเพื่อให้แน่ใจ ว่าหัวหน้ารับรู้สถานการณ์ทุกอย่าง และสามารถควบคุม (Control) ทีมงานได้อย่างอยู่หมัด เพราะหากทำแบบนี้ ตั้งแต่วันแรกๆ ลูกทีมจะรู้สึกว่า “ตั้งแต่หัวหน้าเข้ามา ชีวิตพวกผมเหนื่อยขึ้น หนักขึ้นเป็นเท่าทวี” เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่ต้องแปลกใจ ทำไมจึงมีการต่อต้าน
3. ลูกน้องที่ทำงาน มานานกว่าย่อมมีข้อสงสัยว่าเหตุใด คนที่มีอายุเท่ากันประสบการณ์เท่ากันแต่ทำงานในองค์กร มาน้อยกว่าจึงขึ้นมาเป็นหัวหน้าเขาได้น้อย คนที่จะมองในแง่ดี หลายคนตั้งป้อมแล้วว่า“นายเก่งมาจากไหน” จากนั้นพิธีการ “ลองของ” ก็จะค่อยๆ เกิดขึ้นเพื่อทดสอบฝีมือของหัวหน้าใหม่
ดังนั้น หากคุณมี ดีต้องเอาออกมาอวดบ้าง ผมพูดกับหัวหน้าใหม่ ที่มาจากภายนอกองค์กรเสมอๆ ว่า“คุณต้องรู้จักปล่อยของบ้างถ้ามีของที่จะปล่อย” หัวหน้าหลายคนที่มาใหม่จากภายนอกองค์กร “อมภูมิ”มากเกินไปจนลูกน้องหรือคนที่ทำงานด้วยชักเริ่มรู้สึกไม่แน่ใจแล้วว่า “มีภูมิ” จริงหรือเปล่า
ในทางกลับกัน ก็ต้องหาจุดพอดีให้เจอมี ดีต้องอวดแต่ถ้าอวดมากเกินไปกลับกลายเป็น “อวดดี” ก็ทำให้เสียได้อีก
4. ต้อง “ได้ใจ” ก่อน “ได้งาน” เมื่อเข้าไปใหม่ๆ อย่างน้อยในช่วง 1-2 เดือนแรก อย่าเพิ่งเน้นเรื่องงาน จงใช้เวลาส่วนใหญ่ พูดคุย รับฟัง และซื้อใจลูกน้องให้ได้ก่อน สำหรับคนไทยเรื่องนี้สำคัญมาก
เชื่อผมว่าคุณไม่มีทางได้งานหรือถ้าได้ก็ไม่ยั่งยืน หากคุณไม่ได้ใจ ดังนั้น ใช้เวลากับคนให้มากๆ ในระยะแรกๆ เมื่อตอบโจทย์เรื่องคนได้แล้วเดี๋ยวคนเหล่านั้นจะช่วยคุณตอบโจทย์เรื่องงานเอง
5. คุยกับหัวหน้าของคุณ บ่อยๆ ในสถานการณ์อย่างนี้ ไม่มีใครช่วยคุณได้ดีกว่าหัวหน้าโดยตรงของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากอยู่ที่นี่มานาน เขาย่อมมีบารมีแก่กล้าสามารถกำราบลูกน้องของคุณได้แน่ๆ
นอกจากนั้นการพูดคุยกับหัวหน้าบ่อยๆ จะทำให้คุณรู้จักและเข้าใจ สไตล์การทำงานของหัวหน้าต่อไป คิดทำหรือตัดสินใจอะไรจะได้ไปในทิศทาง เดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน
ซึ่งหากเป็นเช่นนี้เรื่อยๆ ลูกน้องจะเริ่มเกรงใจ เพราะไม่ว่าคุณพูดอะไร นายใหญ่ก็เห็นเหมือนคุณทุกอย่าง
6. จงให้ “เกียรติ” แต่ อย่าให้ “อภิสิทธิ์” คำสองคำนี้ คนไทยแยกไม่ค่อยออก เราใช้กัน มั่วปะปนไปหมด ตัวอย่างเช่น หากเรายืนต่อคิวซื้ออาหารกลางวัน อยู่เจ้านายเดินมาเราอนุญาตให้ท่านแทรกแถวข้างหน้าเรา เพราะคิดว่านั่นเป็นการให้เกียรติผู้ใหญ่
แต่หลายคนอาจรู้สึกว่าอันที่จริงเป็นการ ให้อภิสิทธิ์มากกว่า “เกียรติกับอภิสิทธิ”แยกกันยากเอาเป็นว่า ในการทำงาน ให้เกียรติคืออย่าเรียกเขามาหา ให้เดินไปหาเขา อย่าว่าเขาต่อหน้าคนอื่นให้ตำหนิเป็นการส่วนตัว อย่าสั่งงานเขาต่อหน้าคนอื่นให้สั่งเป็นการส่วนตัว เป็นต้น
แต่ต้องไม่ให้อภิสิทธิคือ กฎกติกาที่บังคับใช้ ต้องใช้กับทุกคนไม่ควรเข้มงวดกับลูกน้องที่เด็กๆ แต่ปล่อยปะละเลย ไม่พูดไม่เตือนสำหรับลูกน้องที่มีอาวุโสสูงกว่า เป็นต้น
ผมคิดว่า หากทำ 6 ข้อนี้ อย่างสม่ำเสมอ สัก 2-3 เดือนแรกของการทำงาน สถานการณ์น่าจะดีขึ้นอย่างไร ก็ตาม ในทางปฏิบัติคงเป็นไปได้ยาก ที่จะทำให้ทุกคน ยอมรับและเห็นพ้องกับคุณ ทั้งหมดเอาเป็นว่า 6 เดือนแรกถ้าได้ใจลูกน้องสักครึ่ง และได้ใจ “หัวโจก”
บางคน ก็ถือว่าใช้ได้แล้วหลังจากนั้นปล่อย ให้เวลาค่อยๆ ช่วยแก้สถานการณ์ให้ดีขึ้นขอเพียงแต่ คุณยังคงทำอย่างที่ผมแนะนำข้างต้นอย่างสม่ำเสมอต่อไป
ขอขอบคุณ m g r o n l i n e