
1. ไม่กู้ ! ไม่ผ่อน ! ทุกอย่าง ยกเว้นเรื่องบ้าน เพราะเค้าถือว่าค่อย ๆ เก็บเงินซื้อของ
มันไม่ ต า ย แต่ถ้ากู้เยอะผ่อนแยะ เป็นนิสัยเราอาจจะอด ต า ย เพราะเอาเงินไปเสียค่าดอกหมด
2. เดินห้างเฉพาะเวลาที่จำเป็นต้องซื้อของ ยิ่งเดินบ่อยสายตาเราจะไปเจอของสวยงาม
น่าซื้อล่อตาล่อใจ ยิ่งเดินบ่อย ก็จะยิ่งใจอ่อนบ่อย พอเดิน ๆ ไปก็หิว ยังต้องเสียเงินกินข้าวในห้างแพงอีก
3. หัดทำกับข้าวกินเอง คิดง่าย ๆ ถ้าทำข้าวไข่เจียวกินเอง เสียเงินอย่างมากก็แค่ 10-15 บาท
แต่ถ้าไปกินข้าวไข่เจียวตามสั่งก็ต้อง 30 บาทอัพ แล้วถ้าบ้านมีหลายคนไม่ยิ่ง แ ย่ ไปเหรอ
ทำกินเองให้บ่อยแล้วนาน ๆ กินที นอกจากจะประหยัดเงินได้เยอะมากสุ ข ภ า พ ยังดีกว่าด้วย
เพราะว่าเราเลือกของดีมาทำ อ า ห า ร ได้
4. ออมก่อน ใช้ทีหลัง ตัดใจตัดเงิน อย่างน้อย 20% ไปออมก่อนเลย เพื่อไปลงทุน
แล้วค่อยใช้เงินที่เหลือ เพราะถ้าใช้เงินแล้วเหลือถึงเก็บ จะไม่เหลือให้เก็บ
แต่ถ้ายังหนุ่มสาว ไม่มีภาระควรเก็บเงินให้ได้ 30-40% ของรายได้
5. ใช้น้อย แต่ใช้ของดี คุณลุงบอกเสมอว่าแต่ก่อนชอบดูหนังมีเพื่อนคนหนึ่งดูหนังทุกเรื่อง
แต่ตีตั๋วถูก ๆ แต่คุณลุงจะนั่งที่แถวหลังจ่ายแพงแต่ไม่ดูบ่อย มันรู้สึกดีกว่า
แล้วก็ประหยัดเงินกว่าด้วย เวลาซื้อเสื้อผ้าก็ขอซื้อที่ดีหน่อยจะได้ใส่ได้นาน
6. รู้ตัวเสมอว่ามีเงินเท่าไร และต้องเก็บเงินไว้ใช้ตอนไม่มีแรงทำงานด้วยคุณลุง
บอกว่าถ้าเราไม่รู้ว่าเรามีเงินเท่าไร เราก็อาจจะเผลอใช้ไปเรื่อยโดยเฉพาะบัตรเครดิตตัวดี
ทำให้เราใช้เงินเกินตัว บัตรรูดปื๊ด รู้ตัวอีกทีก็เป็นลมตอนได้จม. แจ้งค่าใช้จ่ายบัตรเครดิต
นอกจากนั้น เราต้องเก็บเงินไว้ใช้ตอนแก่ด้วยตั้งแต่เริ่มทำงานมาเร่งเก็บตอนสุดท้ายมันไม่ทันหรอก
อย่าลืมว่า ถ้าเราเริ่มทำงานตอน 25 ปี เรามีเวลาแค่ 40 ปี ในการทำงานถึงอายุ 65 ปี
แล้วถ้าเรา ต า ย ตอน 80 แปลว่าเราต้องใช้เงินเก็บไปอีก 15 ปี โดยไม่มีเงินเดือน !
7. สอนลูกหลาน ให้รู้จักคุณค่าของเงิน หลายบ้านพ่อแม่ ใช้เงินประหยัดรู้จักลงทุน
แต่เพราะไ ม่ได้สอนลูกหลาน สุดท้ายก็ถูกลูกหลานผลาญหมด
ขอขอบคุณ m o n e y . k a p o o k