
เพราะงานไม่ได้หากันง่าย หลายคนจึงถือคติ ‘ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน’ แต่ก็มีหลายคนที่รู้สึกลำบากใจ โดยเฉพาะเรื่องของเงินเดือน ทำไม๊… ทำไมไม่ถึงหมื่นอย่าง
คนอื่นเขาซะทีทั้งที่จบ ป.ตรีมาเหมือนกันนะบางทีปัญหามันก็ไม่ได้เกิดที่เงินเดือนเป็นหลัก แต่เกิดจากวิธีคิดของเราที่ยึดติดแต่เปลือกมากเกินไป เงินเดือนแค่หลักพันแล้วไงล่ะ
ทำไมจะมีชีวิตดี๊ดีแบบคนมีเงินเดือนหลักหมื่นไม่ได้
1. ถึงทุกอย่างที่มีอยู่ ไม่แพง ไม่หรู แต่ก็ครบครัน ที่พักก็มี, การเดินทางก็ไม่ลำบากมาก, การกินอยู่ก็พออิ่มพอกิน, ได้เข้าสังคมตามโอกาสที่ควร, ได้เพื่อนร่วมงานที่ดี,
มีวันหยุดที่สบาย, เ จ็ บ ป่ ว ยก็มีค่ารั ก ษ า ฯลฯ สิ่งรอบตัวเรามีครบขนาดนี้ ก็ไม่จำเป็นแล้วที่จะต้องดิ้นรนให้เกินฐานะ พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่นี่แหละความสุขที่แท้จริง
2. โชคดีแค่ไหนแล้วที่มีงาน มีเงิน ถ้าคุณกำลังท้อใจ รู้สึกว่างานที่ทำอยู่ทำไมด้อยมูลค่า ด้อยตำแหน่ง ลองมองในมุมกลับกันว่า
‘ดีแค่ไหนแล้วที่มีงานทำ’ บางคน
ไม่มีโอกาสที่ดีเท่าเราด้วยซ้ำไปพวกเขาต้องดิ้นรนหนักกว่าบ้าง หรือไม่ก็ยอมแพ้ ไม่หางานซะเลยก็มี แต่อย่าใช้ปลอบใจตัวเองในวันที่คุณรู้สึกว่างานที่ทำอยู่มันทำให้
คุณรู้สึกไม่โอเคมากๆ เช่น สวัสดิการห่วยมาก, มีการทุจริตในองค์กรจริง, ยิ่งอยู่ยิ่งถูกเอาเปรียบจริง ลาออกเลยดีกว่า อย่าปลอบใจตัวเองถ้ารู้สึกท ร ม า นมาหลายหนแล้ว
3. สร้างมิตรภาพกับคนรอบตัวเข้าไว้ ความสัมพันธ์อันดีต่อเพื่อนบ้าน, เพื่อนร่วมงาน, ใครก็ตามที่อยู่ใกล้ๆ เรา นอกจากเราจะได้รับการ แ บ่ ง ปั น ของกินของ
ใช้, อ า ห า ร, โอกาสดีๆ อันอื่นๆ ใน ย า ม ที่เราเดือดร้อนขึ้นมาเช่น จู่ๆ ก็ไม่สบายหนัก พวกเขาอาจช่วยเราผ่อนหนักเป็นเบา คอยเป็นหูเป็นตาช่วยดูแลเรา ปฏิเสธ
ไม่ได้หรอกว่าความสัมพันธ์มันมาพร้อมกับผลประโยชน์แต่เราก็เลือกได้นะว่าจะบาลานซ์ให้เรื่องไหนมาเป็นอันดับแรก ถ้าคุณเลือกผลประโยชน์นำหน้า คุณก็จะไม่ได้
รับความจริงใจเลย เลือกสิ่งไหน ได้สิ่งนั้นไงล่ะ (เชื่อเถอะว่ารวยเพื่อน มันดี๊ดีกว่ารวยเงินทองซะอีกนะ)
4. ถึงจะออกนอกห้องบ่อยๆ ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่มีเงินเก็บเลย จริงอยู่ว่าก้าวเท้าออกไปนอกบ้านหรือนอกห้อง ก็เท่ากับว่าเรายินยอมที่จะจ่ายตังค์แล้ว อย่าเหนียวกับ
ตัวเองไปหน่อยเลยถ้าวันไหนไม่มีตังค์หรือเงินช็อต ไม่จำเป็นต้องออกไปใช้เงินมากก็ได้ ลองหากิจกรรมง่ายๆ เช่น ออกไปวิ่งที่สวนสาธารณะ, ออกไปเดินเล่นที่ห้าง, ออกไป
ปั่น จั ก ร ย า น เที่ยวเล่นอย่าติดนิสัยอยู่ในห้องบ่อยๆ เราควรแอคทีฟตัวเองบ้าง ร่า ง ก า ยจิตใจจะได้แจ่มใส ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่
เ จ็ บ ป่ ว ยง่าย ไม่รู้สึกน่าเบื่อหรือ ห ด หู่
ง่ายเหมือนขังตัวเองอยู่แต่ในห้อง
5. ควร ซื้ อ ของด้วยเงินสด ไม่ใช้ระบบผ่อนหรือบั ต ร เ ค ร ดิ ต อยากได้อะไร พ ย า ย า ม เก็บเงินให้ครบแล้วค่อยไป ซื้ อ อย่าติดนิสัย ซื้ อ มาก่อน ผ่ อ นทีหลัง
หรือจ่ายด้วยบั ต ร เ ค ร ดิ ต ซึ่งเป็นการนำเอาเงินในอนาคตมาใช้ (ไม่เหมาะกับคนเงินเดือนหลักพันเป็นอย่างยิ่ง เพราะสเตทเม้นท์ไม่ปลอดภัยพอสำหรับการหมุนเงิน)
การก่อหนี้โดยไม่จำเป็น ขาดเหตุผล อาจทำให้เราไม่มีเงินเก็บ เงินขาดมือ ติดพันกับการกู้ยืมเป็นทอดๆ ไม่รู้จบ
6. กระจายเงินเก็บ/ต่อยอดเงินเก็บ เงินจากการออมเป็นรายวัน/รายสัปดาห์/รายเดือน ไม่ควรมีในบัญชีเดียวหรือแหล่งเดียว ควรกระจายแหล่งเงินฝาก เช่น ฝากไว้
เป็นบัญชีกลางร่วมกับแฟน, ฝากไว้ที่บัญชีของลูกน้อย, ฝากไว้ที่บัญชีของพ่อแม่ เพื่อป้องกันการใช้เงินแบบไม่มีลิมิตหรือกันเงินไว้สำหรับเหตุฉุ ก เ ฉิ นได้หลายที่
และหากมีเงินเก็บมากพอสัก 5,000-10,000 บาท ลองต่อยอดเป็นหุ้น, ธุรกิจเล็กๆ, ทองคำ, เงินฝากประจำด อ ก เ บี้ ยสูง เงินคุณจะได้เติบโตมากขึ้น ไม่เป็นยอดนิ่งๆ
แค่บัญชีเดียวแต่เสียวไส้ ใช้หมดเมื่อไหร่ เจ๊งเมื่อนั้น
7. ให้รางวัลตัวเองแบบพอชื่นใจ ไม่ถี่มาก ชอบพอที่จะ ซื้ อ อะไรให้กับตัวเอง ไม่จำเป็นต้องอด ซื้ อ แต่ลองตั้งเงื่อนไขอะไรให้กับตัวเองสักอย่างเกี่ยวกับงาน เช่น ส่งงาน
ให้ทันกำหนดการ, ทำยอดได้ตามเป้าหมาย ถ้าสิ่งที่คิดไว้สำเร็จจริง นอกจากจะได้แรงจูงใจในการทำงาน มันยังเป็นการเบรคตัวเองไม่ให้จ่ายอะไรในก้อนใหญ่ที่ไม่จำเป็น
โดยง่ายอีกด้วย
8. อย่าบ่น ถ้าต้องเดินทางด้วยความลำบาก ถ้าคิดแล้วว่าวิธีไหนก็ปลอดภัยเหมือนกัน ให้มองหาการเดินทางวิธีที่ประหยัดที่สุด เช่น เดินจากที่พักไปออฟฟิศที่ใกล้ๆ,
ขึ้นรถโดยส า รประจำทาง, ปั่ น จั ก ร ย า น ไปทำงาน, ขี่มอเตอร์ไซค์ไปทำงานจังหวัดใกล้ๆ คุณไม่จำเป็นต้องใช้วิธีสะดวกสบายมาก หากว่าสุดท้ายแล้วต้องรับผิดชอบ
ค่าใช้จ่ายในส่วนของพาหนะเป็นก้อนใหญ่รองจากค่าที่พัก
9. โอกาสทางสังคมไม่จำเป็นต้องแพง การประหยัด นอกจากไม่ได้แปลว่าการอดมื้อกินมื้อ ยังไม่ได้หมายถึงการงดเข้าสังคมด้วยเช่นกัน การเข้าสังคมยังเป็นสิ่งที่จำเป็น
เสมอในการทำงาน เพราะมันจะทำให้เราเข้าใจเพื่อนร่วมงานได้มากขึ้น ติดต่อสื่อส า รทั้งในและนอกเวลางานได้ลื่นไหลขึ้น ไม่จริงเสมอไปว่ามันจะต้องเป็นค่าใช้จ่าย
ที่แพงไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย มันเป็นค่าใช้จ่ายที่แลกกับมิตรภาพและประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น และเราก็เลือกได้ว่าจะเข้าสังคมแบบไหนถึงจะเหมาะ เช่น
ทาน อ า ห า รร่วมกันในร้านที่ไม่แพงมาก, แ ช ร์ อ า ห า รกลางวันที่ทำมาจากบ้านร่วมกัน, ไปทำบุญร่วมกัน เอาที่ตัวคุณเองสบายใจ และไม่สร้างความขัดแย้งกันก็พอ
10. อย่าจำกัดสกิลตัวเอง อย่าคิดว่าเรามีความสามารถแค่นี้ ก็สมควรที่จะได้ทำงานแค่นี้ รับผิดชอบงานแค่ไม่กี่อย่าง มีเงินเดือนแค่หลักพัน คุณต้องเพิ่มมูลค่าและคุณค่า
ให้กับตัวเองด้วยการ ‘อัพสกิล’ เช่นเก็บเงินไปสอบวัดระดับภาษาให้ผ่านเพื่อนำผลสอบนั้นไปยื่นเรื่องปรับเงินเดือนหรือ ย้ า ย ไปสมัครงานที่ใหม่, หารายได้เสริมจาก
ทักษะที่ตนเองถนัด, ขยันทำโอทีเท่าที่จะมีแรงทำได้ (แต่ไม่หนักมากจนหักโหม)
11. อ า ห า รมื้อหลัก ทานแบบถูกหรือฟรีก็ได้ มื้อหลักๆ ที่ทานไว้กัน ต า ย ไม่จำเป็นต้องอร่อย แต่ขอให้เน้นอิ่มไว้ เช่น
อ า ห า รที่บ้าน, อ า ห า รในโรง อ า ห า รที่ทำงาน
คุณจะได้มีเงินเก็บอีกเยอะไปทำอะไรก็ได้แต่อย่าลืมคำนึงถึงสุ ข ภ า พ ตนเองด้วย อย่าทานของที่ไม่มีประโยชน์ อย่าถูกจนเข้าข่ายอดมื้อกินมื้อ ให้รางวัลตัวเองด้วย
การทานของอร่อยๆ ในวันหยุดแต่ละสัปดาห์บ้างก็ดีนะ
12. ที่อยู่อาศัย ประหยัดได้ยิ่งดี มนุษย์เงินเดือนหลายคนต้องหักเงินเดือนครึ่งหนึ่งเป็นค่าเช่าที่พัก ถ้าคุณอยู่บ้านหรือที่ทำงานคุณให้ที่พักฟรีล่ะก็ ไม่ต้องอายคนอื่นว่า
จะเป็นการเกาะใครกินรึเปล่ามาโฟกัสที่การเก็บเงินดีกว่านะ ยิ่งเราจ่ายให้ค่าที่พักได้น้อยมากหรือไม่จ่ายเลย เรานี่แหละมีโอกาสเป็นนายตัวเองได้ไว ถ้าเทียบกับคนอื่น
ที่ยังติดวงจรใช้เงินแบบเดือนชนเดือน
-ในกรณีที่คุณจำเป็นต้องเช่าที่พักเอง หาที่อยู่ที่ปลอดภัยในวงเงินแค่ 2,500-3,000 บาท/เดือน เป็นอันพอ หรือได้แค่ห้องเปล่า ไม่มีเน็ต ไม่มีทีวีก็ได้ ถ้าคุณขาดเน็ตไม่ได้
แนะนำว่าให้เลือกสมัครแพคเกจเน็ตของค่ายมือถือด้วยตัวเองจะถูกกว่า อีกทั้งยังได้ใช้งานได้ทุกที่ ไม่จำกัดแค่ที่ห้องพักที่เดียว
ที่มา : j e e b