
ต้องยอมรับว่า ผู้คนในปัจจุบันนี้ มีปัญหาเรื่องการเงินเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินที่มีอัตราหนี้สินครัวเรือน พุ่งสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในทุกปี แล้วทำไมคนมากมายถึงมีปัญหาการเงินเพิ่มมากขึ้นทุกปี?
เชื่อได้เลยว่าผู้คนเหล่านั้น มีลักษณะ นิสัยที่ทำให้จน อยู่นั่นเอง ซึ่งวันนี้เราจะมาชี้แจง แถลงไข ให้ทราบกันว่านิสัยเหล่านั้นเป็นแบบไหน? มีอะไรบ้าง?
1. ใช้จ่ายโดยไม่คิด นิสัยที่ทำให้จน
การใช้จ่าย โดยไม่ยั้งคิดนั้น ถือเป็นนิสัย ที่เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้ผู้คนมีปัญหาทางด้านการเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่คงไม่ต้องการการอธิบายอะไรมาก เพราะคุณ คงจะรู้กันดีอยู่แล้ว ว่าลักษณะการใช้จ่ายโดยไม่คิดนั้นเป็นอย่างไร
ก็คือมีเงินเท่าไหร่ ก็ใช้จ่ายไปเรื่อย ๆ โดยไม่สนใจอะไรใด ๆ ทั้งสิ้นนั่นเองซึ่งนิสัยนี้จะนำพาคุณไปสู่ การเป็นหนี้สินโดยไม่จำเป็น เพราะเมื่อเงินหมดก็ต้องหันไปพึ่งบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดนั่นเอง
วิธีแก้: การแก้ไขไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่คุณต้องเริ่มเรียนรู้ ที่จะยับยั้งชั่งใจ คิดให้ละเอียดถี่ถ้วน ก่อนที่จะซื้ออะไรก็ตามใช้เวลาพิจารณาถึงความคุ้มค่าของสิ่งนั้น รวมไปถึงคิดว่าถ้าหากคุณซื้อของสิ่งนั้นมา
คุณจะมีเงินเหลือเ พื่อสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ อย่างอื่นหรือไม่? คุณจะไม่มีเงินเก็บหรือไม่? หากคุณคิดพิจารณา ก่อนซื้อก็จะทำให้ความอยากได้ลดน้อยลง เพราะมีความเป็นเหตุเป็นผลมากยิ่งขึ้น
2. หวังเอาแต่น้ำบ่อหน้า
การเล่น ห ว ย รวยเบอร์ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่ คู่คนไทยมานาน แต่ละงวดนั้นกองสลากฯ มีเงินหมุนเวียนเป็นพันล้านบาท เลยทีเดียว ลองคิดดูสิว่าคนไทยเสียเงินให้กับน้ำบ่อหน้านี้มากมายแค่ไหน
ซึ่งถ้าจะลองมองย้อนไป ดูตามสถิติ มีคนเพียงไม่กี่คน เท่านั้นที่ถูกรางวัลใหญ่ ๆ จนร่ำรวย ส่วนคนอีกมหาศาล นั้นเสียเงินแต่ละงวดหลายพันไปเปล่าๆ โดยที่ไม่ได้อะไรกลับมา รวมกันปีหนึ่งเสียเงินนับหมื่นกันเลยทีเดียว
วิธีแก้: อย่างที่รู้กันว่า ขึ้นชื่อว่าห วย ไม่เคยทำให้ใครรวยหากอยากรวยจริง ๆ เปลี่ยนเงินที่ใช้เล่นหวยมาเป็นเงินเก็บเสียดีกว่า ลองคิดเล่นๆหากคุณซื้อล็อตเตอรี่งวดละ 2 ใบเป็นเงิน 160 บาท
เดือนหนึ่งคุณจะเสียเงิน 320 บาทปีหนึ่งจะเสียเงินถึง 3,840 บาท แม้มันจะไม่มากนัก แต่มันก็ไม่ใช่เงินน้อย ๆ สามารถเอาไปทำอะไรได้หลายอย่างเลยทีเดียว
3. มีทัศนคติ “เป็นคนรวยก็ใช่ว่าจะมีความสุข”
คำพูดที่ว่า “ เป็นคนรวยก็ใช่ว่า จะมีความสุข ” ถ้ามองดูให้ลึกนั้น มีนัยยะแอบแฝง ถึงความอิจฉา รู้สึกด้อยค่าและมีสภาวะจิตใจที่ไม่มั่นคง เป็นการกดผู้อื่นให้ แ ย่ ลงเพื่อให้รู้สึกว่าตัวเองดีกว่า
ทั้ง ๆ ที่การไม่มีเงินและการเป็นหนี้นั่นแหละ ที่ทำให้คุณไม่มีความสุข ไม่ใช่เพราะความร่ำรวยแต่อย่างใดเลย
และการที่มีทัศนคติ เ ก ลี ย ด ความร่ำรวยแบบนี้แหละ ที่ทำให้คุณสะกดจิตตัวคุณเองให้มีพฤติกรรม ที่ทำให้คุณจนอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากในใจลึก ๆ คุณคิดว่าคุณไม่อยากเป็นคนรวยเพราะคิดว่าคนรวยนั้นไม่มีความสุข
วิธีแก้: แค่เปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยน หากคุณมีทัศนคติ ที่ดีต่อการเงิน และการใช้ชีวิต พฤติกรร ม การใช้เงินและการใช้ชีวิตก็จะเปลี่ยนไป
ในทางที่ดีขึ้นตามความคิดของคุณ คำพูดที่ว่า “ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว” คือเรื่องจริงหากคุณคิดว่าคุณจะร่ำรวย คุณจะมีความสุข
ลักษณะการดำเนินชีวิตก็จะเป็นไปตามนั้น เช่น แต่ก่อนคุณไม่คิดถึงเรื่องการเก็บเงินเพราะมีทัศนคติ “รวยก็ใช่ว่าจะมีความสุข”
เอาเงินมาซื้อความสุข ชั่ ว คราวให้หมดเลยแต่เมื่อคุณ เปลี่ยนความคิด คุณก็จะเริ่มเก็บเงินเริ่มนำเงินเก็บ ไปลงทุน หรือหาทางทำให้เงินงอกเงย เป็นต้น
4. สร้างหนี้สินเพราะวิถีชีวิตเกินตัว
คนบางมีความอยากได้ อยากมีเกินรายได้ ที่ตัวเองได้รับ เห็นคนอื่นมีของแพง ๆ ก็อยากได้บ้าง เพื่อหน้าตาเพื่ออวดคนอื่นว่าตัวเองก็มี โดยที่ไม่ได้มองเงินในกระเป๋าตัวเองเลยแล้วถ้าเงินไม่มีจะทำอย่างไรล่ะ
ก็ต้องใช้บัตรเครดิต สิสะดวกดี ไม่ต้องเสียเงินสดแค่รูดปรื๊ดเดียว ก็ได้ของมาแล้ว โดยไม่คิดคำนึงถึงอัตราดอกเบี้ย ที่จะถาโถมเข้ามาให้คุณแทบล้มทั้งยืนในภายหลัง
วิธีแก้: ทางแก้นั้นไม่ยาก คล้าย ๆ กันกับข้อที่ 1. นั่นคือมีความยับยั้ง ชั่งใจให้มาก ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อของอะไรก็ตาม และที่สำคัญต้องรู้จักการใช้บัตรเครดิต ที่ถูกวิธี ใช้บัตรเครดิตอย่างไรไม่ให้ตกเป็นทาสของมัน
เพราะบัตรเครดิต นั้นหากใช้อย่างถูกวิธี จะถือเป็นเครื่องมือ ทางการเงิน ที่ช่วยให้คุณประหยัดเงินขึ้นได้ด้วยนะ
5. เรื่องการเงินน่าเบื่อ ไม่อยากสนใจ
ถ้าพูดถึงการวางแผน ทางการเงิน บางคนถึงกับเบือนหน้าหนีเพราะรู้สึกว่ามันคือเรื่องน่าเบื่อมาก ตัวเลขวุ่นวายน่า ป ว ด หัว ทำไมจะต้องวางแผนการเงินอะไรด้วย มีเงินก็ใช้ไปสิไม่เห็นจะต้องคิดมากเลย
ซึ่งนี่คือความคิดที่ผิดและอาจจะทำให้คุณชั ก หน้าไม่ถึงหลังได้ บางคนผ่านไปแค่กลางเดือนเงินก็หมดแล้ว อีกครึ่งเดือนที่เหลือก็ต้องจำกัดจำเขี่ย กินแต่บะหมี่กึงสำเร็จรูปซึ่งส่งผลต่อ สุ ข ภ า พ ในระยะยาว
ซึ่งอาจจะทำให้คุณ ต้องเสียเงินก้อนใหญ่เพื่อรักษา สุ ข ภ า พ ของตัวเองในอนาคต
วิธีแก้: คุณรู้หรือไม่ ว่าการวางแผนเรื่องเงิน ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญและช่วยให้คุณประหยัดเงิน และมีเงินเก็บมากยิ่งขึ้น เพราะมันจะทำให้คุณรู้ความเคลื่อนไหว ของสถานะการเงินของคุณอยู่ตลอดเวลา
และทำให้คุณรู้ว่าคุณใช้เงินไปมากเกิน ความจำเป็นหรือไม่ คุณจะได้ปรับพฤติกรรมได้ทันไม่ให้บานปลาย จนมีปัญหาทางการเงินได้
6. เงินเก็บคืออะไร? ไม่เคยรู้จัก
บางคนใช้จ่ายเงิน โดยไม่ยั้งคิดไม่พอ ยังไม่รู้จัก เก็บออมเงินด้วย ซึ่งถือเป็นหายนะทางการเงินเลยทีเดียวเพราะถ้าหากเกิดเหตุฉุกเฉิ นขึ้นมา เช่น ตกงานกระทันหัน ป่ ว ย ต้องเข้ารับการรักษาใน โ ร ง พ ย า บ า ล เป็นต้น
คุณจะเอาเงินที่ไหน ? ก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน เพื่อนำไปใช้จ่ายในเหตุการฉุกเฉินเหล่านั้น
แล้วถ้าล่วงเลยเข้าสู่วัยเกษียณล่ะจะเอาเงินที่ไหนใช้จ่าย จะไปสมัครงานก็ไม่มีใครจ้างเพราะ ผิ ด ก ฎ ห ม า ย เบี้ยเลี้ยงจาก รั ฐ บ า ล ก็น้อยนิด จะเอาชีวิตรอดไปได้อย่างไร ในช่วงบั้นปลายชีวิต?
วิธีแก้: ไม่มีเงินเก็บ ก็ต้องเริ่มวางแผน เก็บเงินเสียตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตที่ดียามแก่ชราและเพื่อความไม่ลำบากหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ในส่วนของการเก็บเงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน นั้น อาจจะเก็บเอาไว้เป็นจำนวนเท่ากับรายได้ต่อเดือนของคุณสัก 3-6 เดือน
ส่วนเงินเก็บเพื่อการเกษียณนั้น ควรเริ่มต้นเก็บทันที ที่คุณเริ่มต้นทำงาน เก็บไปเรื่อย ๆ เดือนหนึ่งอาจจะไม่ต้องมาก แต่ถ้าใช้ระยะเวลานาน รับรองว่ามากมายมหาศาลแน่นอน
7. ใช้ชีวิตไปวัน ๆ โดยไม่คิดถึงอนาคต
การไม่คิดถึงอนาคต ของตัวเอง แน่นอน มันไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่การไม่มีเป้าหมายในชีวิตนั้น จะส่งผลในแง่ลบต่อตัวคุณเอง แน่นอน เพราะจะทำให้คุณใช้ชีวิตไปวัน ๆ มีเงินเท่าไหร่ก็ใช้ไปโดยไม่คิด
ไม่รู้จักเก็บออมถ้าคุณใช้ชีวิตแบบนี้ไปจนแก่ หลังจากเกษียณอายุ ไม่มีคนจ้างงานแล้วคุณจะมีรายได้ที่ไหน? หรือถ้ายังมีคนจ้างคุณจะยังมีเรี่ยวแรงทำงานไปได้อีกมากแค่ไหน?
วิธีแก้: เพียงแค่ตั้งเป้าหมายให้กับชีวิตคุณ เช่น คุณจะมีบ้านมีรถ โดยซื้อเงินสด หรือผ่อนให้น้อยที่สุด ก็จะทำให้คุณเริ่มต้นเก็บเงินและมีความพยายามในการเก็บเงินหรือคุณตั้งเป้าหมาย
ว่าจะไปท่องเที่ยวให้สบายใจ หลังจากเกษียณอายุ คุณก็ต้องเริ่มต้น ตั้งเป้าจำนวนเงินที่จะเอาไว้ใช้จ่ายในช่วงนั้น และเริ่มต้นเก็บออมเงิน
ขอขอบคุณ t h e-w a y o f l i f e