
1. ความคิดที่ว่า : คนรวยนั่นก็เพราะ “เขาโชคดี”
อย่าลืมว่าคนที่รวย ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ถ้าคุณจะเถียงว่า ดูคนที่ถูก ห ว ย รางวัลที่ 1 สิ ก็ให้ลองสังเกตว่าคนที่ถูก ห ว ย หลายคน มักจะกลับมายากจนในเวลาไม่นาน
นั่นเพราะเขาขาดสิ่งสำคัญ คือ ความรู้ในการบริหารจัดการเงินของตนเอง ลองเริ่มสังเกตตนเองว่า เมื่อได้รับเงินเดือนมาเราบริหารจัดการเงินได้ดีขนาดไหน
หากไม่มีเหลือเก็บออมได้ ก็ไม่ต้องคิดถึงการมีเงินจำนวนมาก เพราะถึงมีมาก เราก็บริหารเงินไม่ได้อยู่ดี
2. ความคิดที่ว่า : เก็บเงินเหรอ? เดี๋ยวค่อยเก็บก็ได้
‘เริ่มออมเงิน ที่อายุเท่าไหร่ดีที่สุด?’ เมื่อถามคำถามนี้กับหลายๆ คน ทุกคนต่างก็รู้คำตอบดีว่า ยิ่งเริ่มออมเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี
แต่กลับมีคนเพียงจำนวนนิดเดียวเท่านั้น ที่ทำได้จริง เพราะคิดว่าตอนนี้ยังอายุไม่มาก ขอใช้เงินเพื่อเที่ยวก่อน เดี๋ยวค่อยออมเงิน
สรุปว่า กว่าจะเริ่มออมเงินก็อายุมากพอสมควรแล้ว แถมยังออมเงินได้น้อยกว่าที่ควร ทำให้ไม่มีเงินหลังเกษียณ
3. ความคิดที่ว่า : เงินคือเป้าหมายเหนือทุกสิ่ง
‘เป้าหมายของการเก็บเงินคืออะไร?’ ถ้าคำตอบของคุณคือ ‘มีเงินเยอะๆ’ ล่ะก็ รับรองได้ว่า สถานะทางการเงินของคุณในอนาคตมีปัญหาแน่ เพราะอะไรน่ะเหรอ?
นั่นก็เพราะคนรวย หรือคนที่ประสบความสำเร็จทางการเงิน จะเห็นเงินเป็นเพียง ‘เครื่องมือ’ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเท่านั้น
แต่เงินไม่ใช่เป้าหมายชีวิต การคิดว่าเงินคือเครื่องมือนั้นช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง โดยไม่ใช้อารมณ์ด้านลบ
เช่น ความกลัวหรือความ เ ค รี ย ด เลย ทำให้การตัดสินนั้นเป็นเหตุเป็นผลและยังมีความถูกต้องชัดเจนอีกด้วย
4. ความคิดที่ว่า : แค่มีเงินมากๆก็รวยแล้ว
อะไรคือคำตอบของความมั่งคั่ง? ถ้าคุณไม่มีคำตอบ นั่นไม่อาจทำให้คุณร่ำรวยขึ้นมาได้อย่างแน่นอน เพราะแม้คุณจะเก็บเงินแต่กลับไม่มีจุดหมายในหัวอย่างชัดเจน
นั่นจะทำให้คุณเก็บเงินได้ไม่นาน แล้วก็จะล้มเลิกในที่สุด แต่หากเราบอกได้ว่า ความมั่งคั่งของเรา คือการมีบ้านสักหลัง, มีเงินใช้จ่ายอย่างไม่ขัดสนหลังเกษียณ
หรือมีเงินและเวลามากพอที่จะใช้เลี้ยงดูลูกๆ ให้เติบโต นั่นทำให้คุณเข้าใกล้ความสำเร็จอีกขั้นแล้ว
5. ความคิดที่ว่า : โปะบัตรนั้นด้วยบัตรนี้คือทางออก
เมื่อเราอยู่ในยุค ที่ทุกสิ่งยิ่งเร็วยิ่งดี ทำให้คนจำนวนมากไม่อยากรอคอยเพื่อเก็บเงินซื้อของที่ตนเองอยากได้อีกต่อไป เราหันไปพึ่งบัตรเครดิตหรือสินเชื่อต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
ใช้บัตรนั้นปิดบัตรนี้และทำให้หนี้เพิ่มขนาดมากขึ้นเรื่อยๆ ทางออก คือ ก่อนซื้อของทุกครั้งให้คิดว่า ‘เงินสดคือที่สุด’ หากเราไม่มีเงินสดมากพอที่จะจ่ายนั่นหมายความว่าเราไม่คู่ควรกับของสิ่งนั้น
เมื่อคิดแบบนี้จะทำให้เรา ไม่ใช้บัตรเครดิตเมื่อไม่จำเป็น และไม่ช่วยก่อหนี้โดยไม่เกิดประโยชน์ด้วย
6. ความคิดที่ว่า : แค่เอาเงินไปวางในอะไรซักอย่างก็จะได้ “กำไร” เอง
ที่คนจำนวนมาก ‘ไม่’ ประสบความสำเร็จด้านการเงิน นั่นเพราะไม่เข้าใจว่าความมั่งคั่ง นั้นต้องใช้เวลาในการสร้างขึ้นมา
อาจจะหลายปี หรืออาจจะเป็นสิบๆ ปี แต่กลับพยายามหาทางลัดเพื่อนำไปสู่ความร่ำรวยให้ได้เร็วที่สุด
7. ความคิดที่ว่า : ทุ่มสุดตัวกับสิ่งที่เรียกว่า “ ห ว ย ”
ห ว ย คือหนึ่งในความเชื่อของคน(อยาก)รวย เชื่อว่าเป็นทางออกสำหรับ ความขัดสนของตนเอง ทำให้เงินจำนวนมากหมดไปกับการซื้อ ห ว ย
ลองคิดง่ายๆ ว่าถ้าเราซื้อ ห ว ย ทุกเดือน โดยซื้อ 1 งวดราคา 400 บาท เท่ากับเราซื้อ ห ว ย เดือนละ 800 บาทต่อเดือน หรือปีละ 9,600 บาท!!!
ซึ่งหากนำเงินจำนวนนี้มาออม แต่หากนำเงินจำนวนนี้ มาออมแทนก็สามารถนำเงินไปลงทุนหรือใช้สำหรับการวางแผนการเงินในอนาคตได้เลยทีเดียว
8. ความคิดที่ว่า : ซื้อของเพราะถูกใจใช่เลย
เจอของถูกใจ ไม่ซื้อไว้ไม่ได้แล้ว!!! หากคุณคิดแบบนี้ก็ไม่ต้องสงสัยเลย ว่าทำไมทุกสิ้นเดือนเงินหายไปไหน การซื้อของนั้นควรเน้นของที่จำเป็นมากกว่าของที่เราอยากได้เฉยๆ ถ้ามีของแบบเดียวกันก็ลองเปรียบเทียบราคาก่อนซื้อ
แต่ถ้าอยากได้จริงๆ ให้ใช้ ‘กฎ 30 วัน’ โดยให้นับไปอีก 30 วันจากวันที่เราเห็นสินค้าชนิดนี้ เมื่อครบกำหนดแล้วแต่ เรายังอยากได้ของชิ้นนี้อยู่ค่อยซื้อ (แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้ซื้อนะ)
9. ความคิดที่ว่า : งานที่ทำก็มั่นคงอยู่แล้ว ไม่เป็นไรหรอก
แม้ว่างานที่คุณทำอยู่ จะได้เงินเดือนมาก แต่อะไรก็ไม่แน่นอน หากวันใดวันหนึ่งถูกเลิกจ้างหรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่ทำให้เราต้องออกจากงานหรือทำงานต่อไปไม่ได้
แสดงว่ารายได้ทางเดียวที่ได้รับมานั้นต้องหายไปทั้งหมด และถึงแม้รายได้จะไม่มีแต่รายจ่ายนั้นยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นการสร้างรายได้หลายทางคือการลดความ เ สี่ ย ง ที่จะเกิดขึ้นได้ และยังช่วยเพิ่มความเร็วให้เราไปถึงเป้าหมายทางการเงินของตนเองด้วย
10. ความคิดที่ว่า : มองหาแต่งานที่ทำเงินได้มากๆ
กาเลือกงานให้เหมาะสม กับความสามารถนั้นเป็นเรื่องดี แต่การเลือกงานเฉพาะที่มีรายได้สูงๆ นั้นไม่ใช่หนทางสู่ความร่ำรวย คนรวยทำงานหลายอย่างไม่ว่างานนั้นจะมีสร้างรายได้หรือไม่ก็ตาม
นั่นก็เพื่อที่จะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ทำและเพิ่มความชำนาญ ที่สามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต ดังนั้นการทำงานหนักและได้เงินไม่มากจะเป็นงานที่ช่วยสร้างประสบการณ์ที่จำเป็นในอนาคตได้อย่างไม่น่าเชื่อเลย
11. ความคิดที่ว่า : เชื่อกูรูสิไม่มีผิดหวัง
ทุกการลงทุนย่อมมีความ เ สี่ ย ง แน่นอนว่า คนที่ต้องการลงทุนต้องศึกษาว่าตนเองยอมรับความ เ สี่ ย ง ในระดับนี้ได้หรือไม่ หากยอมรับได้และลงทุนอย่างต่อเนื่อง ย่อมทำให้การลงทุนงอกเงย แต่นักลงทุนหลายคนเลือกที่จะข้ามขั้นตอนนี้ไป
แต่กลับเชื่อทุกคำที่กูรูหรือโบรคเกอร์บอก เช่นหุ้นนี้ดีให้ซื้อ หรือตอนนี้ควรลงทุนในสินทรัพย์สักอย่าง จะได้มีผลตอบแทนสูงๆ หากคุณเชื่อและทำตามทุกอย่างที่กูรูบอกโดยไม่ลองคิดถึงข้อดีข้อเสียด้วยตนเอง อาจทำให้ขาดทุนแทนได้กำไรก็ได้
การเงินนั้นสิ่งสำคัญ คือ การศึกษาความรู้ด้านการเงิน และทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีวินัยอย่างสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจสอบสถานภาพทางการเงิน อย่างสม่ำเสมอ แค่นี้คุณก็ไม่ถอยหลังเข้าคลอง แต่จะก้าวต่อไปจนบรรลุเป้าหมายของตนเองได้อย่างแน่นอน
ขอขอบคุณ s a n o o k