
1. ใส่กระปุกที่เปิดไม่ได้
การหยอดเงินลงกระปุกออมสินเป็นตัวช่วยที่ดีในนการออมเงินและถ้านำไป
หยอดกระปุกที่ไม่มีช่องสำหรับเอาเงินออกมานั้นต้องทุบกระปุกทิ้งเท่านั้น
จึงจะเอาเงินออกมาได้นี่ก็เป็นสิ่งที่ช่วยบังคับให้การออมของบรรลุผล
เป้าหมายได้นะ ทำให้เรามีเงินออมรออยู่ในกระปุกอย่างแน่นอน แต่ก็
ไม่สามารถหยิบเงินออกมาใช้จ่ายใน ย า ม จำเป็นได้นะ
2. ให้เงินตัวเองใช้เป็นรายวัน
การจำกั ดรายจ่ายของตัวเองนั้น จะช่วยให้การใช้จ่ายในแต่ละวันของเรา
ลดน้อยลงด้วย เราต้องมีการวางแผนตั้งแต่เงินเดือนออกแล้วตัดแบ่งส่วน
ที่ต้องการออมเก็บไว้เงินที่เหลือจึงนำมาเฉลี่ยสำหรับไว้ใช้จ่ายในแต่ละวัน
ข้อดีก็คือ เราสามารถกำหนดเงินออมเองได้ แต่ข้อเสีย เราอาจต้อง
ลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลง เพื่อให้เงินพอใช้ในแต่ละวันนั่นเอง
3. บันทึกรายรับ รายจ่ายเป็นประจำ
การจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นประจำนั้น จะช่วยให้เราเห็นเงินที่ใช้จ่าย
ในแต่ละวัน ก ร ะ ตุ้ น ให้เกิดการออมเมื่อเห็นยอดใช้จ่ายและช่วยในการ
ตัดยอด ซื้ อ ที่ไม่จำเป็นออกไปได้เพราะมันจะช่วยให้การออมเป็นระบบมากขึ้น
แบ่งค่าใช้จ่ายเป็นสัดส่วน ส่วนข้อเสียก็คือ บางทีเราอาจกดดันตัวเอง
จนเกินไป โดยเฉพาะเมื่อใช้จ่ายกับสิ่งที่เสียดายภายหลัง
4. สะสมเงินทุกวัน ตามวันที่
การเก็บเงินโดยเพิ่มมูลค่าตามวันขึ้นเรื่อยๆ วิธีนี้เป็นการเก็บเงินตั้งแต่ต้นเดือน
นับวันที่ 1 แล้วก็เก็บ 1 บาท จนถึงวันสุดท้ายของเดือน ข้อดีคือ เริ่มต้นด้วย
ตัวเลขน้อย ๆ จูงใจให้เราอยากเก็บเงินแต่ข้อเสย ได้เงินเก็บน้อย เพราะ
ครบ 1 เดือน จะได้มากสุดเพียง 470 บาทเท่านั้น เหมาะกับการเก็บครึ่งปี
หรือรายปีมากกว่า
5. เก็บเฉพาะแบงก์ หรือเหรียญที่กำหนด
วิธีนี้เป็นวิธีที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ก็คือ การงดใช้แบงก์หรือ
เหรียญบางชนิด เช่น บางคนไม่ใช้แบงก์ 50 บาทเลยเมื่อได้มาจะต้อง
เก็บเท่านั้น หรือบางคนเลือกเก็บเหรียญ 10 บาทข้อดี จดจำง่าย ไม่มีการ
กำหนดต า ย ตัวถึงจำนวนเงินที่ต้องเก็บในแต่ละวัน ข้อเสีย หากได้รับ
เงินทอนเป็นแบงก์หรือเหรียญแบบที่กำลังเก็บอยู่การใช้จ่ายจะลำบาก
มากขึ้นกว่าเดิม
6. งด อ า ห า ร หรือสินค้าฟุ่มเฟือยประจำวัน
การออมที่ดีนั้น จะต้องเริ่มต้นด้วยการมีเงินเหลือออม เหลือเก็บและ
การจะทำให้มีเงินเหลือเก็บนั้น จึงจำเป็นต้องตัดค่าใช้จ่ายบางอย่าง
ที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย มีการลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงเช่น ลดกาแฟ
เหลือเพียงวันละแก้ว หรืองดขนมขบเคี้ยวหลังพักเที่ยง
ข้อดี ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้มีเงินออมเพิ่มข้อเสีย รู้สึกว่า
ใช้จ่ายไม่คล่องมือเพราะเกิดการตัดการใช้จ่ายบางส่วนออกไปนั่นเอง
7. กำหนดเงินเก็บตามเหตุการณ์
วิธีนี้ได้รับความนิยมมากสำหรับคนที่มีแรงบันดาลใจในบางอย่าง เช่น
ชื่นชอบศิลปินหรือดารา จึงมีการกำหนดเงินเก็บอิงตามการปรากฏ
ตัวตามสื่อต่าง ๆเช่น ออกงานใหญ่เก็บ 100 บาท โพสต์สเตตัส
ลงบนสังคมออนไลน์ เก็บ 200 บาทงี้ เป็นต้น และข้อดีก็คือเป็นการ
สร้างแรงบันดาลใจในการออมควบคู่ไปกับการติดตามสิ่งที่ชอบ
ไปพร้อม ๆ กันส่วนข้อเสียนั้น เราไม่สามารถกำหนดเงินออมได้
บางครั้งอาจต้องออมเงินเป็นจำนวนมาก ในขณะที่บางคราวอาจ
ไม่ได้ออมเงินเลยก็มี
8. เก็บจากเศษเงินเดือน
เคยสังเกตมั้ยว่าเงินเดือนในแต่ละเดือนนั้นมักจะมีเศษเงินที่ไม่ลงตัว
หลังจากหักค่าประกันสังคมหรือกองทุนต่างๆไปแล้ว เงินส่วนที่เป็นเศษ
นั้นให้เราเก็บไว้ และใช้เฉพาะยอดที่เป็นจำนวนเต็มเท่านั้นข้อดีก็คือ
เรามีเงินเก็บสม่ำเสมอในทุกเดือน ข้อเสียนั้น บางครั้งก็เก็บได้ในจำนวนที่น้อย
9. เผื่อเวลาตัดสินใจก่อน ซื้ อ ของ
ก่อนที่เราจะตัดสินใจ ซื้ อ สินค้ามูลค่าสูงสักชิ้นนั้น ควรห้เวลาในการทบทวน
เสียก่อนว่าควรค่าแก่การเสียเงินมั้ย เมื่อแน่ใจแล้วว่าเราอยากได้มันจริง ๆ
จึงค่อยตกลง ซื้ อรวมถึงลองมองหาโปรโมชั่น หรือลองเทียบราคาหลายๆ ร้านดูก่อน
ดูโปรโมชั่นบัตรเครดิต บัตรสมาชิกต่าง ๆ เพื่อให้การใช้จ่ายถูกลงด้วยข้อดีก็คือ
การ ซื้ อ ของจะได้สิ่งของที่อยากได้จริง ๆ ไม่ใช้ ซื้ อ มาทิ้งเฉย ๆ ข้อเสีย
ต้องใช้ความอดทนและการหักห้ามใจระหว่างพิจารณา รวมถึงสินค้าบางชิ้น
อาจจะหมดลงก่อนได้
10. เปิดบัญชีฝากประจำ
การเปิดบัญชีฝากประจำนั้น ควรเปิดบัญชีแบบถอนออกมาไม่ได้ผู้เปิดจะต้อง
ฝากเงินให้ครบตามที่กำหนด อาจมีการให้ธนาคารหักเงินอัตโนมัติจากเงินเดือนเลย
ข้อดี สะดวกในการฝากเงินธนาคารจะดึงเงินบางส่วน จากเงินเดือนไปเก็บไว้ให้
ข้อเสียคืออาจเกิดปัญหาเงินเดือนไม่พอใช้
ขอขอบคุณ the-wayoflife