
1. อย่าโอเวอร์แอคติ้ง
ขณะที่พูดควรแสดงท่าทางประกอบอย่างเหมาะสม พอดีๆ ไม่ควรเล่นใหญ่หรือนิ่ง
เป็นขอนไม้จนเกินไปไม่อย่างนั้นการพูดของคุณจะดูไม่น่าเชื่อถือ เพราะผู้ฟัง
อาจไม่มั่นใจได้ว่าอะไรสำคัญไม่สำคัญ
2. สีหน้า…ส่วนสำคัญ
การแสดงทางสีหน้าถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าอะไร เพราะผู้ฟังจะเห็นได้อย่างชัดเจน
จากดวงตาดังนั้นควรทำให้สีหน้าเบิกบานอยู่เสมอ เพราะนอกจากท่าทางทั้งหมด
แล้วสีหน้าเนี่ยแหละเป็นหัวใจสำคัญที่ผู้ฟังให้ความสำคัญกับผู้พูด
3. มีบุคลิกชัดเจน
การมีบุคลิกที่เป็นของตัวเองจะช่วยให้การ สื่ อ ส า ร เป็นที่น่าจดจำยิ่งขึ้นเพราะ
เรามีคาแรคเตอร์ที่แสงออกอย่างชัดเจน
4. อารมณ์ขัน
เพื่อให้ผู้ฟังฟังอย่างไหลลื่นผู้พูดควรทำตัวให้ร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอและในขณะ
เดียวกันเมื่อกำลังเล่าเรื่องหรือเข้าประเด็นสำคัญควรแสดงอารมณ์ออกมาตาม เ นื้ อ ห า
อย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มความลึกซึ้งให้คำพูดดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
5. พูดอย่างหนักแน่น
คำพูดที่มี พ ลั ง มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลง หรือประโยคเด็ดๆ ที่ดีต้องมีอารมณ์
ความรู้สึก ระดับเสียงที่หนักแน่น เพื่อให้ ส า ร ที่พูดออกไปดูมี พ ลั ง
6. หายใจลึกๆ
สูดหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ ก่อนพูดเป็นหนทางนึงที่ช่วยให้คุณคลายความกังวลก่อนพูด
7. เก็บมือเมื่อไม่จำเป็น
หากไม่มีความจำเป็นต้องแสดงท่าทางควรเก็บมือหรือกุมมืออย่างสุภาพไม่จำเป็น
จะต้องทำท่าทางตลอดเวลาที่พูด เพราะบางทีอาจนำความน่ารำคาญมาให้ผู้ฟังได้
นอกจากนี้ยังทำให้เสียสมาธิอีกด้วย
8. ใช้ระดับภาษาให้ถูก
ควรพูดให้เหมาะสมตามกาละเทศะและโอกาส เช่นเมื่อพูดให้กับคนจำนวนน้อย
ฟังควรพูดด้วยเสียงที่ไม่ต้องดังมากแต่เสียงต้องชัดเจน อาจคุยแบบไม่เป็นทางการ
เพื่อให้มีความบันเทิงบ้างก็ได้ แต่หากเป็นการพูดต่อหน้าคนจำนวนมากถึง
หลักร้อยหลักพัน ต้องพูดเสียงดังฟังชัด เป็นทางการ
9. อย่าพูดเชิงดูหมิ่น
ผู้พูดที่แม้จะรู้เยอะแต่ควรมีวิธีพูดอย่างชาญฉลาดในการให้ความรู้กับผู้ฟังโดยใช้
วิธีอ่อนน้อมและนุ่มนวล แทนการโอ้อวดและคุยโวใหญ่โตหากทำอย่างหลังอาจ
ได้ผลตรงกันข้าม ยิ่งจะทำให้คนไม่ยอมรับนับถือได้
10. ยิ้มเสมอ
สิ่งสำคัญอันดับแรกๆ ที่ต้องทำคือการยิ้ม เพื่อให้ผู้ฟังอุ่นใจว่าคุณพูดกับเขาด้วยทัศนคติที่ดี
ที่มา : g q t h a i l a n d