
1.บาลานซ์จุดแข็ง-จุดอ่อน ไม่ดีพอ
คืออย่างนี้ครับ…ความสำเร็จทางโลก ทางธุรกิจหรืออะไรก็ตาม แต่ในชีวิตจริงมันเรียกร้องอะไรหลายอย่างมากเหลือเกิน
ต่างจากความสำเร็จในโลกการศึกษา ที่คุณสามารถโฟกัสพลัง ส ม อ ง ของคุณให้เต็มที่ก็เพียงพอจะให้ผลลัพธ์ออกมาดี
การทำงานเป็นทีม
การต่อรอง
การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน
หลายคร้งเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน งานชิ้นใหญ่ๆ ที่เราตั้งเป้ากันเอาไว้ ก็ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียวได้
คนที่ “Smart” ย่อมมีทักษะที่จะทำงาน ออกมาให้ดีอย่างครบถ้วน
แต่คนที่ “Wise” คือคนที่เข้าใจว่าจะขอความร่วมมือได้จากใครแม้ตัวเอง จะไม่มีความรู้หรือทักษะที่จะทำได้
ในหนังสือ P R I N C I P L E ที่เขียนโดยสุดยอดปรมาจารย์ R a y D a l i o บอกไว้ว่าเราทุกคนมี
สิ่งที่เรียกว่า b l i n d s p o t โดยเฉพาะคนฉลาดๆ เก่งๆ ที่จะมีอีโก้สูง จนไม่สามารถเห็นจุดบกพร่อง
จุดอ่อน ในงานที่ตัวเองทำ หนักเข้าคือไม่ฟัง ความคิดเห็นของใคร…
หวังว่าพวกเราทุกคนจะตระหนักถึงข้อนี้เอาไว้บ่อยๆ นะครับ
2.ต้องทีมเวิร์คอีกแล้วหรอ…เพลียจริงๆ
หากใครเคยดูหนัง ชีวประวัติของ Steve Jobs ท่านศาสดาของบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกในปัจจุบัน [Jobs (2013)]
ในหลายฉากหลายตอนสื่อถึง บุคคลิกที่แข็งกร้าว มาตรฐานสูง ละนั่นทำให้จ๊อปแกชอบทำงานคนเดียวโปรเจกเดี่ยวๆ
หรือไม่ก็เป็นทีมที่ตัวเองเลือกขึ้นมาเอง แล้วมีอำนาจควบคุมอย่างเสร็จสรรพ
ใช่ครับ, คนเก่งๆ ฉลาดๆ หลายคนเป็นซะแบบนี้
ก็ในเมื่อคุณมีความมั่นใจสูง และเชื่อมือตัวเองมากกว่าใคร
ทำไมต้องปล่อย ให้ผลงานตกไปถึงคนที่คุณมองว่าไม่เก่ง (คิดเองสินะ)
อันที่จริงนิสัยเหล่านี้ มันไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นมา ชั่ ว ข้ามคืน แต่ได้รับการบ่มเพาะมาตั้งแต่เด็กๆ
คนเก่งๆ พวกนี้เข้าใจ เ นื้ อ หาได้ไวกว่า หยิบจับ concept ใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ได้
ว่องไวกว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียน..แล้วนิสัยเหล่านี้ก็ติดตัวมาจนโต
ปัญหาที่แท้ทรู เกิดขึ้นเมื่อ ภารกิจ การงาน โปรเจก ในวัยผู้ใหญ่มันคนละสเกลกับโครงงานวิทยาศาสตร์ตอนป.4
มันต้องอาศัยการวาง Action Plan
มันต้องอาศัยการร่วมมือ ของหลายหน่วยงาน/หลายแผนก/หลายความถนัดและทักษะ
และมันยากที่จะทำได้ด้วยตัวคนเดียว (แต่ก็มีหลายอาชีพแหละที่เหมาะกับพวกชอบลุยเดี่ยว)
[วิธีแก้]
ความตระหนักคือจุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลง…แค่ตระหนักและชื่นชมความสามารถที่แตกต่างหลากหลาย
ที่จะนำความสวยงามมาสู่ผลงานที่จะเกิดขึ้น…ท่องไว้คับ ลดอีโก้ และเรียนรู้ที่จะกระจายงานให้เป็น
3.ยึดติดความฉลาดของตัวเองมากเกินไป
ถ้าไม่คาดหวัง = ไม่ผิดหวัง
แต่เป็นเรื่องยากเหลือเกิน ที่คนเก่งๆ จะไม่คาดหวังในความฉลาดของตัวเอง…สิ่งที่จะตามมาคือในชีวิตของเราเลือกไม่ได้หรอกครับ ที่จะอยู่เฉพาะแต่เวทีที่เราสามารถแสดงความฉลาดของเราได้เต็มที่ได้ตลอดเวลา
เคยมีคนยกตัวอย่าง คำถามตลกๆ ว่า “ถ้าคุณจะต้องไปติดเกาะเป็นระยะเวลา 1 เดือน คุณจะพาใครไปด้วยระหว่างนายพรานที่ช่ำชองหรืออัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” พี่ เ อ๋ นิ้ ว ก ล ม Roundfinger เคยเขียนเล่าในเพจของตัวเองว่าในแต่ละปีเขาจะมี “เป้าหมาย บ้ า ๆ ” ผสมอยู่บ้าง
เป็นเป้าหมายหรือภารกิจที่จะพาตัวเขาออกจากพื้นที่ที่คุ้นเคย…อย่างที่รู้ว่าคนเขียนเก่งไม่ได้แปลว่าจะพูดเก่ง…แต่ในปีนั้นพี่เอ๋ลองท้าทายตัวเอง ด้วยการไปรับบทพิธีกรซึ่งไม่ใช่สิ่งที่คุ้นเคยหรือถนัดแม้แต่น้อยมีคนเก่งหลายคนจำนวนมากที่ยึดติดสุดๆ กับความฉลาดของตัวเอง
ฝากชีวิตและความหวังไว้กับมัน แต่โดยไม่รู้ตัว…กลไกการป้องกันตัวของพวกเขาได้กีดกัน “เวที บ้ า ๆ ” ที่พวกเขาไม่ถนัดออกไปจากชีวิต
เขาไม่อาจรับได้เลยที่จะให้ตัวเองรู้สึก โ ง่ บ้างเป็นครั้งคราว จะดีกว่าไหมที่เราสามารถภูมิใจ ในความฉลาดของตัวเองไปพร้อมกับชื่นชมความสามารถอื่นๆ ที่แตกต่างหลากหลาย…
ความฉลาดไม่ได้มีแบบเดียว ยอมเปิดพื้นที่ทดลองให้กับเวทีใหม่ๆ ที่ตนเองอาจไม่ถนัด
จงเป็นไอน์สไตน์ที่ไม่เกี่ยงที่จะขอความช่วยเหลือ จากพรานเมื่อถึงคราวติดป่า
อีโก้กินไม่ได้…แต่พราน สามารถช่วยล่าหาอาการมาให้คุณได้นะครับ
4.คนฉลาดขี้เบื่อ
“Being smart is not exactly the same as being curious, but if you have both these qualities you might find yourself becoming easily bored “
“การเป็นคนฉลาดกับการเป็นคนช่างสงสัย ใคร่รู้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่ถ้าคุณมีทั้งสองข้อนี้อยู่ในตัวแล้วล่ะก็…คุณจะรู้ตัวเลยว่า คุณนี่ขี้เบื่อง่ายมากๆ”
ด้วยความที่เรียนรู้อะไร ได้ค่อนข้างรวดเร็ว แถมถ้าใครที่มีความ “เป็ด” สนใจใคร่รู้ไปเสียทุกอย่าง ไอนี่ก็น่ารู้ ไอนั่นก็น่าศึกษา ก็ไม่ยากนักที่จะทำให้คนกลุ่มนี้ เป็นคนที่รักการเรียนรู้ ทว่า บนโลกใบนี้มีการงานที่หลากหลาย….บ้างใช้ความคิดสร้างสรรค์
บ้างมีลักษณะซ้ำๆ เป็น routine ซึ่งนี่เป็นจุดอ่อนของคนขี้เบื่อ เลยทีเดียว เพราะบางทีความสนุกของพวกเราอาจอยู่ในช่วงเรียนรู้ ทำความเข้าใจ พอเราเก็ทแล้วว่าภาพรวมมันทำงานอย่างไร พอถึงเวลาที่ต้องลงมือทำก็เบื่อไปก่อนเสียแล้ว
หลายงานต้องการความสม่ำเสมอ ถึงจะเห็นผล
หลายงานต้องการลองผิดลองถูก โดยการทำอะไรคล้ายเดิมซ้ำๆ
หลายครั้งความสำเร็จคือการสั่งสม “จิ๊กซอ” อดทนต่อไปทีละนิดเพื่อสุดท้าย ประกอบเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
แม้เราอาจมีความคิดบรรเจิด ไอเดียเลิศล้ำ แต่ท้ายที่สุดเราต้องไม่สับสน ว่าผลลัพธ์ย่อมเกิดจากการลงมือทำจริงไม่ใช่การคิด
มีหลายงานที่เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้คิดสร้างสรรค์อะไรตลอดเวลา แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งเราจะพบว่ามีบางขั้นตอนที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้
ที่จะต้อง “ทู่ซี้” ทำมันไปอย่างนั้นไม่ว่าจะซ้ำซาก อึด ถึก ทน ละน่าเบื่อเพียงใด
จำไว้ว่า “Some Boredom Are Worth Melting For” แทนที่จะล้มเลิกทันทีเมื่อเจอความเบื่อ ลองปรับมุมมอง ถอยออกมาดูไกลๆ เพื่อประเมินดูว่า “ความเบื่อ”
นั้นสามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้หรือไม่ บางทีความสำเร็จไม่ได้มาจากไอเดียบรรเจิดเพียงอันเดียว แต่เกิดจากการสั่งสมความสำเร็จเล็กๆ ไปเรื่อยๆ
ทั้งนี้ก็ไม่ได้บอกว่าให้ละทิ้งความรักในการเรียนรู้ออกไป เพราะอันที่จริงมัน คือสมบัติที่ล้ำค่ามากๆ เพียงแต่เราอาจจะเริ่มฝึกตัวเองให้ทนกับความเบื่อบ้าง
เช่น การตั้งเป้าหมายเล่นๆกับตัวเองว่าในหนึ่งอาทิตย์จะลองสละเวลา ทำเรื่องน่าเบื่อแต่เกิดปรโยชน์ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น 5 ชั่ ว โมงเป็นต้น….
สำหรับผมคือการจัดห้อง ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย (เห็นไหมครับว่าไม่จำเป็นที่ต้องเป็นเรื่องใหญ่เลย)
5.บางครั้งคนฉลาดเชื่อว่าการคิดให้มาก คิดให้หนัก สามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง
ด้วยความที่คนฉลาดสามารถคิดอะไร ที่เป็นเหตุเป็นผลมีตรรกะซับซ้อนได้หลายชั้น เขาจึงเชื่อว่าเจ้าตัวความคิดนี่แหละ ที่เป็นพระเจ้าที่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ทุกอย่างหากคิดให้ลึกมากพอ
ปัญหาคือเมื่อจมดิ่งกับความคิดใดความคิด หนึ่งมากเกินไปอาจทำให้เรา “ละเลย” กับทางเลือกอื่นๆที่อาจจะเวิร์คไม่แพ้กันเรื่องนี้ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ตรงกับตัวเองตอนคิดโปรเจกงานอยู่ตัวหนึ่ง
วางแผนออกมาซับซ้อนครอบคลุมมาก แต่พอเอาไปปรุึกษากับทีมก็โดนทักว่าทำไมไม่ใช้วิธีนี้ล่ะ ง่ายกว่าตั้งเยอะ ให้ผลเหมือนกันนั่นแหละครับท่านผู้ชม พอคิดได้เก่ง คิดได้มาก คิดได้ลึก Research ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเป็นกระบุง
ก็อาจทำให้พลาดอะไรที่ดูง่ายๆไปได้ หากเป็นคนทั่วไปอาจ give up ยอมแพ้ กับความซับซ้อนและไปหาอะไรที่ได้ผลแต่ง่ายกว่าตั้งนานแล้ว
[วิธีแก้]
– ให้ลองสังเกตตัวเองว่า เมื่อไหร่ที่เราเริ่มคิดมากเกินไปจนฟุ้ง
– ลองดูว่าเมื่อไหร่ที่เราควรจะหยุดคิด และลงมือทดลองทำจริงเพื่อรับ feedback จริงซึ่งดีกว่าการนั่งเทียนคิดเองเป็นไหนๆ
– คุณภาพของความคิด(ที่จะนำไปสู่การลงมือ ทำอย่างมีประสิทธิภาพ)ไม่ใช่ว่าคุณคิดได้ลึกและซับซ้อนแค่ไหน แต่คือการมองปัญหาได้อย่างรอบด้าน
และตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด ลองลดอีโก้ในความฉลาดของตัวเอง แล้วพูดคุยกับคนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย
ขอขอบคุณ n e w s.s e-e d