
1. เผลอเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น
เพราะ การเปรียบเทียบ จะเป็นการสร้างความรู้สึก ด้อยให้เกิดขึ้นในชีวิต ของลูก ๆซึ่งเป็น อั น ต ร า ย ต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กอย่างมาก ถึงแม้การพูดในลักษณะนี้จะเป็นการที่อยากจะให้ลูกได้พยายามปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นแต่ก็อาจทำให้เด็กรู้สึกด้อยค่าและมองว่าไม่เก่งเท่าคนอื่น ๆ
อาจจะเลิกพยายามทำหรือยอมแพ้ หรืออีกมุมหนึ่งคือเด็กอาจเกิดความคิดหาทางกลั่นแกล้ง ทำ ล า ย คู่แข่งคนอื่น ๆ ได้ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ ไม่ควรเข้าใจว่าพื้นฐานของเด็กแต่ละคนนั้น ตลอดจนความสามารถนั้นแตกต่างกันควรจะมองและชื่นชมลูกในสิ่งที่เขาสามารถทำได้
และถนัดมากกว่าการใช้คำพูดเพื่อทำ ลา ย ความรู้สึกของลูก ๆ ด้วยการเปรียบเทียบ หรือเพื่อต้องการให้ลูกเก่งกว่าเด็กคนอื่น ๆ ในทุกด้าน
2. เผลอบอกว่า “ไม่รัก” แล้ว
จริง ๆ แล้วไม่มี คุณพ่อ คุณแม่คนไหน ที่ไม่รักลูก แต่ก็ไม่ควรนำความรักมาใช้เป็นเงื่อนไขต่อรองกับลูก ซึ่งการพูดไม่รักบ่อย ๆ เป็นการ บั่ น ท อ น ความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจของลูกอย่างมาก พ่อแม่บางคนอาจบอกว่าไม่รักเพื่อให้ลูกเชื่อฟังแต่หารู้ไม่ว่าวิธีนี้อาจทำให้เด็กรู้สึกคิดจริงจังก็ได้ว่าพ่อแม่ไม่รักจริง ๆ
และรู้สึก เ จ็ บ ป ว ด มากที่สุดอาจจะไม่ทำตาม ในสิ่งที่พ่อแม่บอกแล้ว เพราะไม่มีประโยชน์อะไร ที่เขาจะทำดีหรือเชื่อฟังเมื่อพ่อแม่ไม่รัก ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ สำหรับเด็กมาก ดังนั้น หากคุณจะตำหนิลูกที่มีพฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสมควรว่ากล่าวด้วยเหตุผลมากกว่าการบอกว่า “ถ้าทำตัวแบบนี้พ่อแม่ไม่รักนะ” ดีกว่าค่ะ
3. เผลอเพิกเฉย ไม่สนใจ
การแสดง ความไม่สนใจต่อลูกนั้นในกรณีที่ คุณพ่อ คุณแม่ ตั้งใจแสดงออกให้ลูกเห็นว่าการเรียกร้อง แสดงความสนใจเพื่อที่จะให้พ่อแม่ตามใจ เช่น การร้องไห้ชักดิ้นชักงอ หรือการเดินหนีออกจากพ่อแม่นั้นไม่ได้ผลวิธีนี้ ถือเป็นการช่วยฝึกวินัยของลูกให้เรียนรู้ว่าพฤติกรรมแบบนี้
ไม่สามารถเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ได้และลูกก็จะไม่ทำอีก แต่กลับกัน หากพ่อแม่เอาแต่สนใจ อย่างอื่นโดยที่ไม่สนใจลูกเพิกเฉย ต่อการที่ลูกจะเข้ามาเล่นด้วยหรืออวดสิ่งของที่ลูกได้ทำเอง ถือเป็นการ ทำ ร้า ย ต่อจิตใจลูกมากนะคะ
4. เผลอต่อว่าลูกต่อหน้าคนอื่น การดุด่าว่ากล่าวลูกต่อหน้าคนอื่น
ถือเป็นการ ทำ ร้ า ย จิตใจลูกอย่างมาก คุณพ่อ คุณแม่ ต้องคิดเสมอว่าเด็ก ๆ ก็มีความรู้สึกอาย และ เสียหน้าเป็น ดังนั้นหากลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ควรค่อย ๆ พูดกับลูกในระดับที่เสมอกันด้วยน้ำเสียง ที่อ่อนโยนและเป็นมิตร ซึ่งไม่ควรเผลอที่จะตะคอก หรือโดยวายลูกต่อหน้าคนอื่นหรือที่สาธารณะนะคะ
5. เผลอ ข่ ม ขู่ หรือทำให้กลัว
เด็ก ๆ มักจะกลัว เสียงดุจากคุณพ่อคุณแม่อยู่แล้ว เนื่องจากลูกยังไม่สามารถเข้าใจในเรื่องต่าง ๆได้ดีเกือบทั้งหมด การเรียนรู้ครั้งแรกหรือการทำผิดพลาด อาจทำให้ลูกเกิดความไม่กล้าในครั้งต่อไปหากพ่อแม่ใช้วิธีการขู่มาเป็นข้อห้าม หรือ หลอกเพื่อไม่ให้ลูกได้ทำสิ่งต่าง ๆ
เช่น “ออกไปนอกบ้าน ระวัง ตำ ร ว จ จั บ นะ” หรือ “ถ้าซนมากๆ เดี๋ยวตุ๊กแกกิน ตั บ นะ”การขู่ในลักษณะแบบนี้หากทำบ่อย ๆ ลูกจะซึบซับและจะกลายเป็น การกลัวฝังใจกลัวแม้กระทั่งเรื่องนิด ๆ หน่อย ๆ ทำให้เด็กกลายเป็นคนขี้กลัวซึ่งความกลัวเหล่านี้จะเป็นสาเหตุ ให้เด็กเก็บไปฝันและนอนผวาในตอนกลางคืนได้
ถือเป็นการ บั่ น ท อ น สุ ข ภา พ ของเด็กอย่างมากสำหรับเด็กแล้ว เรื่องของจิตใจกับความรู้สึกถือ เป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญไม่น้อย กว่าการเอาใจใส่ดูแล สุ ข ภา พ ร่ า ง ก า ย เพราะสองอย่างนี้จะเติบโตคู่ไปกับลูก
ดังนั้น พ่อแม่ไม่ควรเผลอกระทำสิ่งเหล่านี้ ลงไปให้ลูกรู้สึก แ ย่ หรือไม่ดี เพื่อให้ลูกได้เติบโตมาเป็นเด็กที่มีอารมณ์ดีมีจิตใจมั่นคงและ ร่ า ง ก า ย ที่แข็งแรงในอนาคตนะคะ
ขอขอบคุณ t h.t h e a s i a n p a r e n t