
“หัวหน้า” เป็นตำแหน่งที่หลายคนใฝ่ฝัน เพราะได้ทั้งลาภยศและความเคารพจากทีม
แต่ก็มีหัวหน้าบางประเภทที่ขาดความเป็นผู้นำ จนไม่มีใครอยากร่วมงานด้วย
จะเป็นหัวหน้าที่ดีต้องสตรองแค่ไหน? เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นหัวหน้าแล้ว ย่อมได้รับ
การคาดหวังว่าจะนำพาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าได้ พร้อมๆ กับการดูแลพนักงาน
หลายชีวิตตำแหน่งหัวหน้าที่มาพร้อมกับภาระหนักอึ้งเอาการ แต่ในความเป็นจริง
บางคนอาจได้เป็นหัวหน้าตั้งแต่อายุยังน้อย ยังไม่มีประสบการณ์มากพอ
ในการบริหารงานและบุคคลเพราะฉะนั้นลองสำรวจตัวเองว่าเป็นหัวหน้าที่ดี
หรือเป็นหัวหน้ายอด แ ย่ กันแน่ จะได้ปรับปรุงตัวแล้วเลิกพฤติกรรมแบบนี้เสียที
1. บ้ า อำ น า จ
อย่าหลงระเริงกับอำนาจที่มีอยู่ ใช้ตำแหน่งบังคับให้อื่นคนทำตามใจตัวเองหรือ
ใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว จะทำให้ลูกน้องกดดัน ทำงานด้วย
ความหวาดกลัวถ้าอยากให้ลูกน้องเคารพจากใจจริง ก็ควรฏิบัติกับพวกเขา
ด้วยความเคารพเช่นกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่มีอีโก้ถือตัวเหนือกว่าผู้อื่น
หัวหน้าที่ดีควรส่งเสริมทีมคอยให้กำลังใจและให้คำปรึกษาได้แบบนี้
ถึงจะได้ใจลูกน้องจริงๆ
2. เจ้าอารมณ์
การมีวุฒิภาวะทางอารมณ์เป็นคุณสมบัติของคนทำงานทุกคน โดยเฉพาะคนที่
เป็นหัวหน้า ควรควบคุมอารมณ์ให้ได้ ไม่ใช้อารมณ์นำเหตุผล ยิ่งอยู่ในตำแหน่งสูงๆ
ก็ควรระมัดระวังในการวางตัว เพราะไม่มีลูกน้องคนไหนอยากเป็นที่รองรับอารมณ์
จริงอยู่ว่ามนุษย์เรามีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง ด้วยกันทั้งนั้น แต่เมื่อถูกทักท้วง
ควรอดทนอดกลั้น หยุดคิดสักนิดไม่พูดจาโต้ตอบแบบ ห ย า บ ค า ย หรือวีนเหวี่ยง
โดยไม่มีเหตุผล
3. ไม่กล้าตัดสินใจ
หัวหน้าบางคนมีคุณสมบัติดีเลิศทั้งการศึกษาและการทำงาน แต่กลับ
ขาดภาวะผู้นำ ไม่กล้าตัดสินใจ บริหารงานไม่เด็ดขาด กล้าๆ กลัวๆ มีบุคคลิก
ไม่มั่นใจ แล้วแบบนี้จะเป็นแบบอย่างในการทำงานให้ลูกน้องได้อย่างไร
แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ เริ่มต้นจากการเชื่อมั่นศักยภาพของตัวเอง
และลูกน้อง ไม่หยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆจากเด็กรุ่นหลังหรือผู้ที่อาวุโส
กว่ามีการวางแผนงานล่วงหน้าที่ชัดเจน และไม่หยุดนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ
4. เอาดีใส่ตัว เอ า ชั่ ว ใ ส่ ค น อื่ น
ไม่ว่าผลงานจะได้รับคำชมหรือคำติ คนมักจะพุ่งเป้ามาที่หัวหน้าก่อนเสมอ
เพราะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจการตัดสินใจสูงสุดในทีม เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่
ผลงานได้รับการชื่นชมต้องให้เครดิตกับลูกน้องเสมอ อย่ารับไว้เป็นผลงาน
ของตัวเองคนเดียว ในทางกลับกันเมื่อเกิดข้อผิดพลาด ก็ไม่ควรโยน
ความผิดให้คนอื่น และไม่รู้สึกอายที่จะขอโทษในกรณีที่ลูกน้องทำผิด
สามารถตักเตือนได้แต่ไม่ควรซ้ำเติม ต้องรู้จักให้โอกาสคน แนะนำ
ให้ลูกน้องเรียนรู้จากข้อผิดพลาดและหาวิธีการแก้ไขปัญหา
ตลอดเวลา
5. เลือกที่รัก มักที่ชัง
หัวหน้าลำเอียง เล่นพรรคเล่นพวก เข้าข้างลูกน้องคนสนิทตลอดเวลา
ทำผิดก็แก้ตัวให้ ตรงกันข้ามถ้าไม่ปลื้มลูกน้องคนไหนก็ไม่สนใจจะให้คำปรึกษา
หรือโยนงานเล็ก ๆแบบปิดทองหลังพระให้รับผิดชอบ แบบนี้เรียกว่า
สองมาตรฐานชัดๆ จนทำให้ลูกน้องเกิดอคติกับหัวหน้าไปตลอด
เพราะฉะนั้นคุณควรแยกเรื่องส่วนตัวกับการทำงานให้ได้ไม่ให้ท้ายลูกน้อง
คนใดคนหนึ่งจนเกินงาม ปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
การทำงานให้ได้แล้วคุณล่ะเป็นหัวหน้าแบบไหน? ถ้าอยากเป็นหัวหน้าที่มี
ความเป็นผู้นำ ได้รับการยอมรับจากลูกน้อง ลองนึกถึงตอนที่คุณยังเป็นลูกน้อง
คุณเคารพหัวหน้าแบบไหนก็ควรจะปฏิบัติตัวให้น่าเคารพแบบนั้นเช่นกัน
เมื่อรู้ว่าเรามีข้อเสียตรงไหนก็รีบแก้ไขให้เร็วที่สุด ส่วนใครที่กำลังจะก้าวขึ้นมา
เป็นหัวหน้า หรืออยากเติบโตในสายอาชีพของตัวเองสามารถค้นหา
ตำแหน่งงานระดับสูงและมั่นคง
ขอบคุณที่มา : j o b s D B