
การมีหนี้ถือเป็นบทเรียนสำคัญของชีวิต การที่คุณหยิบยืมเงินจากผู้อื่นนั่นเท่ากับว่า
คุณได้รับโอกาสต่อลมหายใจออกไปแล้วที่สำคัญเมื่อตัวเองได้รับความช่วยเหลือก็
จงอย่าสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นและพยามยามใช้คืนดังนี้
1. ปรับพฤติกรรมสิ้นคิดบางอย่างลง
ถ้าแม้คุณจะมีบัญชีรายรับรายจ่าย หรือคุณจะรู้และเข้าใจความผิดพลาด
ที่เกิดขึ้นในอดีตแต่ถ้าคุณยังไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง มันก็แทบจะ
ไม่มีประโยชน์อะไรเลยแล้วคุณก็ไม่อาจหลุดพ้น จากวังวนนั้นแน่นอน
จำไว้ว่าการจะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้คุณต้องอาศัยความอดทนและ
ความตั้งใจอย่างมาก
2. บริหารเงินที่เหลือจากการตัดรายจ่ายนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
จริงๆ แล้วมันไม่ใช่แค่การบริหารเงินที่เหลือจากการจัดการรายจ่ายที่
ไม่จำเป็นนั้นอย่างเดียวคุณควรจะวางแผนการเงินตั้งแต่แรกด้วยซ้ำ
เงินที่ได้เพิ่มมานั้น คุณควรจะวางแผนดีๆว่าแต่ละส่วนคุณจะจัดการอย่างไร
ส่วนไหนเก็บ ส่วนไหนกันไว้ใช้หนี้ คุณต้องแบ่งแต่ละส่วนให้ชัดเจนครับ
3. พูดคุยให้ชัดเจนถึงเหตุผลที่เราต้องหยิบยืมเงินเพื่อน ยืมเงินญๅติ
การจะขอความช่วยเหลือจากใครสักคน สิ่งแรกคือคุณต้องชัดเจน พูดความจริง
คนที่จะช่วยเหลือจึงจะทราบสถานการณ์และความจำเป็นของคุณโดยละเอียด
และควรกำหนดเวลาใช้คืนให้ชัดเจนว่าคุณพร้อมใช้คืนเมื่อไหร่และที่สำคัญ
เมื่อได้รับความช่วยเหลือมาแล้ว อย่าได้หายหน้าหายตาไปอย่างเด็ดขาด
แม้จะยังไม่ถึงกำหนดชำระก็จงติดต่อกับเพื่อนเพื่อแสดงความจริงใจตลอดเวลา
หากคุณยังติดขัดอะไรอยู่จงบอกเหตุผลกับเพื่อนหรือญาติเสมอ
การหายเข้ากลีบเมฆคุณกำลัง ทำ ล า ย ตัวเองและความน่าเชื่อถือ
ของตัวเองอย่างน่าอดสูที่สุด
4. สำรวจข้อผิดพลาดในอดีตของตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่
ก่อนจะใช้หนี้ได้ คุณต้องเข้าใจเสียก่อนว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับคุณบ้าง
คุณจะได้เข้าไปแก้ไขอย่างตรงจุด ถ้าคุณไม่สำรวจความผิดพลาดในอดีต
เชื่อเถอะว่าในไม่ช้าวังวนเดิมๆ จะกลับมาหาคุณอย่างแน่นอน
5. ถ้าบริหารแล้วยังไม่พอก็ต้องหารายได้เพิ่ม
สำนวนที่ยังคงเป็นจริงเสมอคือประโยคที่ว่า “หาให้มากกว่าใช้”
ถ้าคุณบริหารทุกอย่างแล้วยังไม่เป็นไปตามเป้า คุณก็ควรจะ
หารายได้เพิ่มเติมครับ สำรวจว่าคุณมีศักยภาพอะไรหรือถนัดอะไร
และมันพอจะเอามาเป็นวิธีหารายได้เพิ่มเติมได้หรือไม่แล้วจงลงมือทำเสีย
เอาเวลาที่มา นั่ ง เ ค รี ย ด นั่งกุมขมับมาหาเงินเพิ่มดีกว่าครับ
6. ทำบัญชีค่าใช้จ่ายเพื่อเปรียบเทียบสมดุลของรายได้และรายจ่าย
จริง ๆ สิ่งนี้เป็นหัวข้อคลาสสิ คที่สุดสำหรับการสร้างวินัยทางการเงิน
เพราะมันจะบอกคุณเลยว่าในแต่ละเดือนคุณมีรายได้เข้ามาเท่าไร
และคุณเสียเงินไปกับเรื่องอะไรบ้างคุณจะได้เข้าไปจัดการกับรายจ่าย
ที่ไม่จำเป็นเหล่านั้น
“แม้ว่าการสร้างความรู้ การปรับทัศนคติและพฤติกรรมจะไม่ใช่ การแก้หนี้
ที่ทำแล้วจะเห็นผลทันที แต่ก็ยังเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดี
ให้เราสามารถ สร้างความมั่นคงให้ตัวเองและครอบครัวได้..”
ขอบคุณ : e – y h a n g w a