
ในการทำงาน ใครก็อยากได้คำไพเราะ เสนาะหู ในการสื่อสารกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะคำแนะนำ หรือคำตำหนิ
แต่บางครั้ง เราลืมไปน่ะสิ ว่าคนเรามีที่มาไม่เหมือนกัน ความรู้สึกนึกคิดต่างกัน การจะให้ได้ดั่งใจมันเป็นเรื่องยากเสมอ และมันเป็นเรื่องธรรมดามากจริง ๆ
หากว่าเราจะกระทบกระทั่งกันบ้าง ด้วยวาจา (ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่ามันไม่ดี แต่ก็อดไม่ได้ !) ไม่มีใครอยากพูดจาไม่ดีใส่กัน แต่ก็ใช่ว่าคำพูดที่ตำหนิกันจะไม่ดีไปซะ 100%
ตรงกันข้าม มันกลับเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนเราฮึดสู้กว่าเดิม งานที่ทำก็ได้ผลดีกว่าเดิมตามมาด้วย! แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องรู้จักเทคนิคการตำหนิ ใช่ว่าจะพูดอะไรก็ได้โดยไม่ทันคิด
1. อดทน เฝ้าสังเกตความบกพร่องสักระยะก่อน
ไม่มีใครอยากฟังคนอื่นบ่นได้ แม้กระทั่งเรื่องไม่เป็นเรื่อง จุกจิก ไร้สาระ ในเมื่อต่างคนก็โตเป็นผู้ใหญ่กันหมด
เราก็ควรจะคุยกันแบบผู้ใหญ่ก่อนจำเอาไว้ว่า “จะทำการใหญ่ใจต้องนิ่ง” อย่ารีบร้อนด่ากราดไปซะทุกเรื่อง
แม้กระทั่งเรื่องขี้เล็บ ค่อย ๆ สังเกต ปล่อยให้ลูกทีมได้ลงมือทำแล้วค่อยฟีดแบ็คทีหลัง จะโอเคกว่า
เราจะได้ไม่เสียลุคเป็นคนขี้บ่น ความอดทนต่ำ
2. คิดน้ำเสียงก่อนพูด
แค่เก็บประเด็นที่จะฟีดแบ็คไม่พอ คนพูดต้องคิดน้ำเสียงตัวเอง มาล่วงหน้าด้วย
อย่าหวังว่าการขึ้นเสียงจะเป็นการกำราบให้อีกฝ่ายอยู่หมัด
เพราะนั่นเท่ากับว่าเรายอมรับแต่โดยดีว่าคำพูดเราทุกคำไม่มีน้ำหนักพอจะสู้กับคนอื่นได้
จึงต้องสู้กันด้วยเสียงไว้ก่อน อยากให้คนอื่นฟัง คุณต้องพูดอย่างเน้นถ้อยคำ ชัด ๆ
ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องขึ้นเสียงตามคนอื่น ถ้าคุมสติตัวเองได้ คุมน้ำเสียงตัวเองได้
มันก็ไม่ใช่เรื่องยาก ที่จะคุมคนฟังให้อยู่ในกำมือเรา
3. อย่าพูดนอกเรื่อง
อย่าลากอดีต, ลากบุคคลที่ 3, ลากบริบทอื่น ที่หยุมหยิม ไม่ใช่ประเด็นหลักมาเกี่ยวข้อง อยากตำหนิเรื่องไหน
ควรพูดให้ตรงประเด็นที่สุด ไม่ออกนอกเรื่องไม่ขยายไปถึงเรื่องอื่น ทั้งตัวเราและคนอื่นจะงง หาจุดจบไม่ได้
4. อย่าเล่นปมด้อยคนอื่น
การนำปมด้อย คนอื่นมาล้อ นอกจากจะไม่ตรงประเด็นที่ตำหนิกัน ยังถือว่าเป็นการพูดจาที่ น่ า เ ก ลี ย ด ไร้ศักดิ์ศรีที่สุด
เพราะนี่คือการแสดงให้เห็นว่าลึก ๆ คุณไม่ให้ความเคารพ เพื่อนมนุษย์ด้วยกันเลย พร้อมจะเหยียบเมื่อคนอื่นล้ม พร้อมจะเล่นสกปรกเมื่อตัวเองแพ้
5. อย่าคิดว่าการตำหนิ = โอกาสที่ตัวเองชนะ
มองภาพรวม ของการทำงานให้ออก เราต้องการให้มิตรภาพแ ละงานเดินต่อไป ไม่ใช่หยุดอย่างหนึ่งเพื่อให้อีกอย่างหนึ่งเดิน
คำพูดทุกคำคิดไว้เสมอว่า “เราจะถนอมน้ำใจกันมากที่สุด” พูดกันตรง ๆ ได้ แต่ไม่ควรแรงใส่กัน สิ่งไหนที่เราพลาด ไม่รู้จริง อย่ารีรอที่จะขอโทษก่อน
6. อย่าถืออาวุโสในการตำหนิ
อะไรที่เป็นตำแหน่ง ที่เหนือกว่า ที่จะเป็นการข่มให้อีกฝ่ายดูด้อยลง ให้วางลงก่อน คิดซะว่านี่คือ “เพื่อน” หรือ “คนในครอบครัว”
เช่น “อย่าหาว่าพี่อย่างนั้นอย่างนี้เลยนะ พี่ขอพูดในฐานะที่เป็นพี่น้องกันมานานนะว่า …”
การเจรจากันควรเป็นไปในทางที่อบอุ่น ใกล้ชิดกันที่สุด เท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่การเปรียบเทียบกันหรือเป็น ศั ต รู กัน
7. ตบท้ายด้วยการฟื้นฟูความรู้สึกกัน
การตำหนิอยู่ลูกเดียวมันก็คล้ายกับว่า คุณจ้องแต่จับผิดอย่างเดียว จบการตำหนิแล้วควรมีการฟื้นฟูจิตใจกันทั้งสองฝ่าย
ด้วยการกล่าวขอโทษ, ขอบคุณ, ชมในข้อดีของอีกฝ่าย เพื่อเป็นการ รั ก ษ า น้ำใจกัน หล่อเลี้ยงพลังใจลูกทีม
ให้ไม่รู้สึกว่าที่ผ่านมาไม่มี ดีอะไรเลย อีกทั้งยังเป็น การจบบทสนทนาที่สวย ไม่มีอะไรติดค้างกันอีก เช่น
– “พี่ขอโทษนะที่ต้องพูดตรง ๆ แต่ยังไงก็ขอบคุณนะ สำหรับการเสียสละเวลารับฟังกัน”
– “ที่จริงเธอเป็นคนเก่งนะ พี่เห็นความตั้งใจ ในการทำงานเสมอ แต่รอบนี้ พี่ขอให้ปรับปรุงอะไรเล็กน้อยหน่อยนะ ถ้าทำได้ พี่จะขอบใจมาก”
จงรักเพื่อนบ้าน เหมือนรักตนเอง จงรักทีมเวิร์คเหมือนรักครอบครัว มองภาพรวมให้กว้างกว่านี้จะดีขึ้นเยอะ
ขอขอบคุณ j e e b.m e