
การมีรายได้สูง ๆ ไม่ได้ทำให้เรารวยขึ้นได้ แต่ความร่ำรวยจะเกิดก็ต่อเมื่อเราสามารถบริหารการใช้เงินให้เหลือเก็บนั่นต่างหากดังนั้นหากตอนนี้คุณรู้สึกว่าเก็บเงินไม่ค่อยอยู่เลย
ลองมาเช็กว่าคุณมี 8 สัญญาณการใช้เงินแบบผิด ๆ ที่ทำให้ไม่เหลือเงินเก็บอยู่กี่ข้อกัน
1. รายได้เพิ่มขึ้น แต่เงินเก็บไม่เพิ่มตาม
หลายคนคิดไว้แล้วว่าเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นก็จะเก็บเงินให้มากขึ้นด้วย ทว่าเอาเข้าจริง ๆกลับยังคงใช้เงินแบบเดิม ๆ เก็บเงินได้บ้าง พลาดบ้าง แล้วแต่กิเลสในแต่ละเดือนของตัวเอง
รู้ตัวอีกทีเงินเก็บที่คิดว่าจะมีเยอะก็กลับไม่เท่าที่หวังไว้วิธีแก้ปัญหา อย่ารอให้มีรายได้เพิ่มขึ้นถึงเริ่มเก็บเงิน โดยเฉพาะหากรู้ตัวว่าตัวเองเป็นคนใช้เงินเก่งควรตัดใจ
หักเงินส่วนหนึ่งเอาไว้ออมเลย แล้วค่อยมาบริหารจัดการเงินที่เหลือไว้ใช้จ่ายภายหลัง
2. มีเงินไม่พอจะจ่ายหนี้
เป็นอย่างนี้แทบทุกเดือน นอกจากจะมีชีวิตแบบสิ้นเดือนสะเทือนใจแล้ว พอมีรายได้เข้ามาคุณมักจะพบว่าไม่สามารถจ่ายบิลค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมดหรือจ่ายได้แค่เพียงขั้นต่ำและนี่ก็
เป็นปัญหาหนักอกประจำเดือนมายาวนานแล้วอีกต่างหากซึ่งก็เห็นได้ชัดเลยนะคะว่า คุณไม่มีเงินสำรองเพียงพอจะจัดการรายจ่ายของตัวเองให้ลงตัวได้วิธีแก้ปัญหา บอกตรง ๆ ว่า
มีตัวเลือกอยู่แค่ 2 ทาง คือ หาเงินให้ได้มากขึ้น หรือใช้จ่ายให้น้อยลง ซึ่งอาจหารายได้เสริมทำในช่วงเลิกงานหรือวันหยุดไม่ก็พยายามรัดเข็มขัดตัวเองตัดรายจ่ายฟุ่มเฟือย
ออกไปหรือง่าย ๆ เริ่มต้นจากจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย ประจำวันก่อนก็ได้
3. ไม่เคยเตรียมพร้อมกับรายจ่ายก้อนใหญ่
โดยเฉพาะคนที่แต่งงานแล้ว อย่าลืมว่าในอนาคตคุณอาจมีสมาชิกครอบครัวเพิ่มขึ้นอีกนะแล้วการเลี้ยงดูเด็กสักคนก็ต้องใช้ค่าใช้จ่ายไม่เบาเลยล่ะ หรือแม้แต่คนโสดก็
ต้องเตรียมตัวไว้เหมือนกันปัญหาสุขภาพก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรวางใจ เ จ็ บ ป่ ว ย ขึ้นมาเมื่อไรค่าใช้จ่ายก็ไม่น้อยเลยทีเดียววิธีแก้ปัญหา ยังคงต้องบอกให้แบ่งเงินบางส่วน
มาเก็บออมเอาไว้ก่อนถึงแม้จะเป็นเงินก้อนที่ดูไม่น่าจะได้ใช้เร็ว ๆ นี้แต่การออมเงินไว้ก็ยังทำให้อุ่นใจได้มากจริงไหมคะ หรือใครอยากออมเงินไปพร้อมกับทำหลักประกันชีวิตก็ได้
เ จ็ บ ป่ ว ย ขึ้นมาก็ยังมีค่ารักษาพร้อมจ่าย
4. ไม่เคยนึกถึงเรื่องเก็บเงินวัยเกษียณ
ในตอนนี้เราอาจอายุยังน้อย มีเวลาหาเงินได้อีกหลายปีก็จริงแต่ถ้าเรามัวผัดวันประกันพรุ่ง แล้วเมื่อไรเราจะมีเงินเก็บในส่วนที่กันไว้ใช้ช่วงวัยเกษียณกันล่ะวิธีแก้ปัญหา
เริ่มออมเงินส่วนนั้นไว้ตั้งแต่ตอนนี้ อย่างน้อยหัก 10 % ของรายได้เอามาออมเงิน ไว้ใช้ตอนเกษียณก็ได้แค่นี้อนาคตก็เป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวลใจอีกต่อไป
5. จ่ายหนักกับค่าที่พักอาศัย
อสังหาริมทรัพย์ถือเป็นการ ล ง ทุ น อย่างหนึ่ง แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน เตือนว่าถ้าคุณมีรายจ่ายค่าบ้าน ค่าคอนโดหรือหอพักเกิน 40 % ของรายได้ ก็มีความเป็นไปได้สูง
ที่จะเหลือเงินเก็บน้อยวิธีแก้ปัญหา ถ้ามีความสามารถหารายได้เพิ่มในแต่ละเดือนได้ ก็อย่ามัวรีรอค่ะ จัดไปให้สมดุลกับรายจ่ายของตัวเองแต่หากใครที่ไม่โอเคกับทางเลือกแรก
ลองมองหาที่พักอาศัยที่เหมาะสมกับรายรับของตัวเองดีกว่าไหมโดยเฉพาะคนที่เช่าอาศัยอยู่ ลองตัดความไม่จำเป็นออก แล้วหาที่พักใหม่ที่ถูกลง ทำให้เรามีเงินเหลือเก็บได้มากขึ้น
6. ไม่สนเรื่องการ ล ง ทุ น
บางคนกลัวว่าการ ล ง ทุ น อาจจะมีความ เ สี่ ย ง เลยยังไม่กล้า ล ง ทุ น ทำอะไรสักอย่างแต่ก็มองได้อีกมุมนะคะว่า หากเราไม่
เ สี่ ย ง ล ง ทุ น ไปบ้าง ชีวิตก็คงไม่ได้กำไรสักบาท
เช่นกันดังนั้นลองมองหาการ ล ง ทุ น ที่คุณคิดว่าน่าสนใจได้แล้ววิธีแก้ปัญหา พาตัวเองออกจากความกลัว ความไม่กล้า หรืออะไรก็ตามที่ทำให้คุณมัวกั๊ก ไม่ยอม ล ง ทุ น สักที
แล้วมองหาการ ล ง ทุ น ที่คิดว่าใช่ ไม่ว่าจะลอง ล ง ทุ น กับกองทุนต่าง ๆ ซึ่งอาจจะช่วยลดภาษีตอนสิ้นปีได้ด้วย
7. หนี้บัตรเครดิต
เยอะและมักจะจ่ายได้แค่ขั้นต่ำบัตรเครดิต ที่มีอยู่ทุกใบ ถูกรูดใช้ในวงเงินที่เกินจะเคลียร์หนี้ได้หมดและมักจะชำระหนี้ได้เพียงแค่ขั้นต่ำ ซึ่งก็ทำให้หนี้บัตรเครดิต
ทบต้นทบดอกไปเรื่อย ๆและคุณก็ต้องนำเงินส่วนที่น่าจะได้เก็บออมไปจ่ายหนี้แทน ทำให้โอกาสเก็บเงินแทบจะไม่มีเลยทีเดียววิธีแก้ปัญหา พยายามใช้จ่ายอย่างประหยัด
และเร่งเคลียร์หนี้สินจากบัตรเครดิต ให้หมดโดยเร็วที่สุดที่สำคัญต้องหักห้ามใจไม่ให้ใช้บัตรเครดิต ที่ยังคงมียอดหนี้ค้างไว้อยู่ แต่ให้ใช้จ่ายด้วยเงินสดแทน
8. ใช้เงินฟุ่มเฟือย
เดือน ๆ หนึ่งช้อปปิ้งบ่อยมาก กาแฟก็ดื่มทุกวัน แฮงก์เอาท์นี่แทบเป็นงานประจำเลย ก็ว่าได้แบบนี้จะเหลือเงินที่ไหนมาเก็บกันล่ะจ๊ะวิธีแก้ปัญหา เข้าใจว่าถ้าหักดิบให้เลิกฟุ่มเฟือยเลย
คงทำได้ยาก แต่คุณทำได้แน่ค่ะ เพียงจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตัวเองทุกวันหรือจะใช้วิธีจำกัด งบประมาณใช้จ่ายในแต่ละวันก็ได้ ทว่าก็ต้องมีวินัยในตัวเองด้วยนะ
ห้ามนอกลู่นอกทางเด็ดขาด
ยอมรับไหมละคะว่า การที่เราไม่มีเงินเก็บอย่างที่ ควรจะมี ก็เป็นเพราะนิสัยการใช้จ่ายที่ไม่ได้วางแผนไปถึงอนาคตรวมทั้งการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่เรายอมควักระเป๋า
จ่ายออกไปแทบทุกวัน ซึ่งหากตัดรายจ่ายไม่จำเป็นเหล่านี้ทิ้งได้พร้อมกับปรับนิสัยใช้เงินอย่างคุ้มค่ามากขึ้นอีกไม่นานก็คงมีเงินเก็บเป็นถุงเป็นถังได้เหมือนคนอื่นเขาแล้วล่ะ
ที่มา : b u s i n e s s i n s i d e r