
“เงินเก็บ” สำหรับบางคนดูเป็นเรื่องที่ห่างไกล เพราะทุกวันนี้ยังหาเช้ากินค่ำอยู่เลย แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาเก็บใช่ไหมคะ แต่รู้หรือเปล่าว่าหากเราคิดจะออมเงินอย่างจริงจัง
เราสามารถตัดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยบางอย่างที่เราจ่ายไปทุกวัน ๆ มาเป็นเงินเก็บได้สบาย ๆ มาลองสำรวจกันสิว่าในแต่ละวันเรามีค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่เราสามารถเปลี่ยนเป็น
เงินออมได้กี่รายการกัน
1. ห ว ย
ซื้ อทุกงวดไม่เคยขาด บางคนซื้อมากกว่า 2 ใบเสียด้วยซ้ำ ซึ่งถ้าลองคำนวณดูหวยใต้ดินหรือลอตเตอรี่ที่ตกใบละ 80-100 บาท หลายใบก็หลายร้อย อย่างที่มีข้อมูลสถิติ
จากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี เผยว่า คนไทยซื้อทั้งหวยบนดินและหวยใต้ดินเฉลี่ยเดือนละ 500 บาท ตกปีละ 6,000 บาท แต่โอกาสถูกน้อยมาก ดังนั้นหากเปลี่ยนเงิน
ที่ซื้อหวยหรือแบ่งเงินส่วนหนึ่งที่ซื้อหวยมาเป็นเงินออม ปีนึงจะมีเงินเก็บจำนวนไม่น้อยเลยนะ
2. เครื่อง ดื่ ม ชู กำ ลั ง
เ ค รื่ อ ง ดื่ ม ชู กำ ลั ง ที่เหล่าพ่อค้า แม่ขายที่ใช้แรงงาน หรือหลาย ๆ คน นิยมดื่มกันทุกวันเพื่อให้ร่างกายตื่นตัว ขวดละ 10 บาท ถ้าดื่มวันละ 2 ขวดก็ตกวันละ 20 บาท
เดือนนึง ก็ 600 บาท ปีนึงก็ 7,200 บาทเข้าไปแล้ว ฉะนั้นถ้าเลิกซื้อ เลิกดื่ม และผันเงินมาออมกัน ก็น่าจะมีเงินเก็บใกล้ ๆ หมื่นต่อปีแล้วล่ะ
3. บุ ห รี่
สินค้าสิ้นเปลืองอย่างบุหรี่ก็มีราคาค่อนข้างสูงเหมือนกัน ซองละ 50-60 บาทขึ้นไป ยิ่งใครที่สูบจัด สูบถี่ เดือนนึงก็หมดเงินไปกับบุหรี่น่าจะเฉียดหลักพันเลยก็ว่าได้
แล้วคิดดูสิคะว่าปีนึงเสียเงินไปกับบุหรี่เท่าไร ที่สำคัญสูบบุหรี่ไปก็ให้โทษ เ สี่ ย ง โ ร ค อื่น ๆ ให้ต้องเสียเงินเสียทองไปกับค่าดูแลสุขภาพอีก
4. เ ค รื่ อ ง ดื่ ม แ อ ล ก อ ฮ อ ล์
แม้จะ ดื่ ม วั นละ ข ว ด แต่ ร า ค า เ บี ย ร์ ขวดหนึ่งก็ไม่ต่ำกว่า 50 บาท ไหนจะ ร า ค า เ ห ล้ า ที่ชนหมดแก้วอีกไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง คำนวณดูแล้วเงินที่เสียไปกับส่วนนี้ก็
เป็นจำนวนไม่น้อยเผลอ ๆ เดือนละเป็นพัน ปีนึงก็เป็นหมื่น ถ้าเก็บเงินส่วนนี้ไว้ เราก็จะมีเงินเก็บปีละไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทแน่นอน
5. แพ็กเกจอินเทอร์เน็ต
ทั้งเน็ตมือถือทั้งเน็ตบ้าน บางคนควบทั้งสองรายจ่ายเลยใช่ไหมคะ โดยเฉพาะเน็ตมือถือที่ผูกมากับตอนซื้อเครื่องใหม่ เดือนละ 599 บ้าง 899 บ้าง ทั้งที่ความจำเป็นในการใช้อินเทอร์เน็ต
ของเราไม่คุ้มกับกับค่าแพ็กเกจที่ต้องจ่าย แถมราคานี้ยังไม่รวม VAT อีกเกือบ ๆ ร้อย สรุปว่าเดือนนึงจ่ายค่าโทรศัพท์เกือบหลักพัน ปีนึงก็หมื่นกว่า ! นี่ถ้าเปลี่ยนมาใช้แบบเติมเงิน
ตามการใช้งานจริง ๆ ของเรา หรืออย่างน้อยเลือกแพ็กเกจที่เหมาะสมกับการใช้งาน อาจลดรายจ่ายส่วนนี้ไปได้มากพอจะแบ่งเงินมาเก็บออมได้เลย
6. ค่าธรรมเนียมธนาคาร
แม้ค่าธรรมเนียมธนาคารในการถอนเงิน โ อ น เงินต่างธนาคารจะดูเล็กน้อย ครั้งละ 15-30 บาท ทว่าเมื่อรวมกันหลาย ๆ ครั้งก็เป็นเงินหลายบาทเหมือนกันนะ ดังนั้นหากใครมีสมาร์ตโฟน
และอินเทอร์เน็ตอยู่แล้วแนะนำให้สมัครพร้อมเพย์ หรือ Internet banking โ อ นฟรีดีกว่า แต่ถ้าไม่ถนัดออนไลน์ ยอมเสียเวลาสักนิดไปทำธุรกรรมหน้าเคาน์เตอร์เลยก็ได้
7. ปาร์ตี้สังสรรค์
ช า บู ห มู ก ร ะ ท ะ บุ ฟ เ ฟ่ ต์ ได้เงินมาเป็นต้องจัดทุกครั้งไป หรือใครที่ชอบสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ปาร์ตี้นอกบ้านทุกวันศุกร์ กินข้าวนอกบ้านทุกวันเสาร์-อาทิตย์
ลองคำนวณดูเล่น ๆ ถ้ามื้อละ 500 เดือนนึงก็ 2,000 ปีหนึ่งก็ 24,000 !
8. ช้อปปิ้งออนไลน์
สูญเสียกันไปเท่าไรแล้วกับคำว่ามือลั่น ปัดหน้าจอไปก็เผลอกดของใส่ตะกร้าหลายชิ้น อยู่บ้านเฉย ๆ ก็เสียเงินได้ ยิ่งหากสั่งจากหลายร้าน หลายเจ้า ค่าจัดส่งก็คิดแยกไปอีก
ลำพังค่าส่งของบางทีก็แพงกว่าราคาสินค้าอีกต่างหาก ถ้าอดใจช้อปปิ้งออนไลน์น้อยลงบ้าง คงมีเงินออมเป็นหลักหมื่นเหมือนกันนะว่าไหมโดนกันไปกี่รายการกับรายจ่ายฟุ่มเฟือยพวกนี้
และเงินจำนวนนี้แหละค่ะที่เราสามารถเปลี่ยนมาเป็นเงินออมได้ ไม่จำเป็นต้องออมตอนมีเงินเหลือใช้ แต่แบ่งออมก่อนนำเงินไปใช้จะดีกว่า ออมวันละ 1 บาท 10 บาท หรือ 50 บาท
ก็ทยอยเก็บไปสิ้นปีเงินจำนวนน้อย ๆ พวกนี้ก็กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ให้ชื่นใจได้หรือถ้ากลัวเก็บเงินออมไม่อยู่ จะเลือกเปิดบัญชีเงินออมกับธนาคาร หรือ กองทุนการออมแห่งชาติ
ที่ฝากเริ่มต้นแค่เดือนละ 50 บาท เขาก็รับ ไม่เสียค่ารักษาบัญชี ได้รับเงินสมทบจากรัฐ 50-100% ฟรี เพียงแค่เอาเงินจากการหยุดซื้อหวย 1 ใบ ง ด บุ ห รี่ 1 ซอง เครื่องดื่ม แ อ ล ก อ ฮ อ ล์ 1 ขวด
มาฝากก็มีเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณแล้วนะ เห็นไหมว่า แค่ลดพฤติกรรมฟุ่มเฟือย เลิก ห ว ย เลิกเครื่องดื่ม แ อ ล ก อ ฮ อล์ ก็เอาเงินไปออมได้อีกตั้งเยอะ
ขอบคุณที่มา : m o n e y . k a p o o k