
สำหรับคนทำงาน ปัญหาหลัก ๆ ที่มักจะเกิดขึ้น ก็คือเงินเดือน ชั ก หน้าไม่ถึงหลัง เงินเดือนออกปุ๊บ ก็ใช้หมดปั๊บ ทั้งจ่ายบัตรเครดิต
จ่ายค่าที่พัก ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าจิปาถะ จนไม่ต้องถามเลยว่ามีเงินเหลือเก็บบ้างหรือเปล่า
ฉะนั้นถ้ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายที่ อ ย า ก มีเงินเดือนพอใช้ไปจนถึงวันเงินเดือนออกครั้งใหม่ วันนี้มีเคล็ดลับในการเอาตัวรอดมาฝาก
1.แบ่งเงินเป็นรายวัน
จากเงินเดือนที่ได้รับ หาก อ ย า ก ใช้ให้พอดีไปจนถึงเงินเดือนออกครั้งหน้า ควรนำยอดเงินที่ใช้ได้ทั้งหมดมาหารจำนวนวันที่เหลือ
เช่น 10,000 บาท หาร 30 วัน เท่ากับใช้เงินได้วันละ 333 บาท (บวกลบนิดหน่อย) แล้วนำเงินแยกใส่ซองเอาไว้ทั้งหมด 30 ซอง
พร้อมกับเขียนวันที่กำกับไว้ด้วย แล้วก็หยิบไปใช้วันละซองจนกว่าจะหมดเดือน
ถ้าหากวันไหนมีเงินเหลือจะหยอดกระปุกไว้ หรือเอามารวมกับซองของวันถัดไปก็ได้นะจ๊ะ
2.ตุนของในซูเปอร์มาร์เกต
ของใช้ อ า หารแห้ง และอื่น ๆ ที่ต้อง ซื้ อ ติดบ้านเป็นประจำ ควรเข้าซูเปอร์มาร์เกต
เพื่อ ซื้ อ ตุนเอาไว้ตั้งแต่ช่วงเงินเดือนออก เพื่อจะได้ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายจุกจิกในส่วนนี้เข้ามาเบียดเบียนเงินในช่วงกลางเดือน
อีกทั้งการ ซื้ อ ของพร้อม ๆ กันจำนวนมากอาจได้ส่วนลดเพิ่ม หรือทำให้คุณมี อ า หารแห้ง
และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คอยต่อชีวิตในช่วงนับถอยหลังรอเงินเดือนครั้งใหม่ออกด้วยนะ
3.รูดบัตรเครดิตเท่าที่มีจ่าย
ถึงแม้บัตรเครดิตจะช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น แต่อย่าลืมว่าเป้าหมายหลักของธุรกิจบัตรเครดิต ก็คือดอกเบี้ยจากการใช้จ่ายของคุณ
ดังนั้นหากไม่ถึงคราวจำเป็น หรือแน่ใจว่ามีเงินชำระเต็มจำนวนในรอบบิลนั้นแน่ ๆ ก็อย่ารูดเงินอนาคตมาใช้จะดีกว่า จะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยโดยใช่เหตุ หรือเป็นหนี้พอกหางหมูไม่จบไม่สิ้น
4.หยอดกระปุกสุดคลาสสิก
ถึงแม้จะเป็นวิธีคลาสสิกที่ทำกันมาเนิ่นนานและมีเพียงเด็ก ๆ เท่านั้นที่สนุกกับการหยอดกระปุก
แต่อย่าลืมว่าผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็สามารถเอาวิธีนี้มาช่วยเก็บเงินได้เหมือนกัน โดยเฉพาะเศษเหรียญที่ได้มาในแต่ละวัน หากนำมาหยอดกระปุกทุกครั้งที่กลับถึงบ้าน
รับรองว่าช่วงเงินหมดจะสามารถแคะออกมาใช้จ่ายได้อย่างน่าตื่นเต้นเลยล่ะ
5.กินหรูบ้างข้างทางบ้างสลับกันไป
แน่นอนว่าทำงานมาเหนื่อย ๆ ใครก็ อ ย า ก ลองลิ้มชิม อ า หารอร่อย ๆ เติมพลังให้ตัวเอง แต่อย่าลืมว่าถ้า โ ห ม กินทุกวันในช่วงต้นเดือน
กว่าจะถึงปลายเดือนคงใช้ชีวิตลำบากแน่ ดังนั้นทางที่ดีควรวางแผนให้ดีตั้งแต่เนิ่น ๆ
เช่น อนุญาตให้ตัวเองกินร้านแพง ๆ ได้อาทิตย์ละ 1 วัน จากนั้นก็กิน อ า หารจานละ 25-30 ทั่วไป
หรือถ้าทำเองได้ยิ่งดี เพียงเท่านี้คุณก็จะกำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับการรับประทานในแต่ละเดือนได้คร่าว ๆ แล้ว
6.ซื้ อ ของชิ้นใหญ่ เลือกแบบผ่อน 0 %
มนุษย์เงินเดือนที่ อ ย า ก ได้ข้าวของชิ้นใหญ่ ราคาโต ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ไฮเทค ทีวี เครื่องซักผ้า ฯลฯ
และรู้ตัวดีว่าถ้ารอเก็บเงินก้อนคงไม่มีโอกาสได้ ซื้ อแน่ ๆ ลองใช้บัตรเครดิตที่ถืออยู่ให้เป็นประโยชน์ ด้วยการสำรวจ โ ป ร โ ม ชั่ น ผ่อน 0 % แล้วเลือก ซื้ อ ด้วยวิธีนี้น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
เพราะนอกจากจะไม่เสียดอกเบี้ยแล้ว ยังสามารถแบ่งจ่ายได้ ทำให้ไม่กระทบกับเงินเดือนมากนัก แต่ช้าก่อน !
อย่าลืมว่าต้องรูดเมื่อจำเป็น และผ่อนชำระให้ครบทุกบาทอย่างตรงเวลาเท่านั้นนะคะ
ได้รู้จักกับเทคนิคการใช้เงินเดือนให้อยู่รอดไปจนถึงเดือนต่อไปแล้ว ก็อย่าลืมลองนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับวิถีชีวิตเงินเดือนของคุณ
จะได้ไม่ต้องคอยนับถอยหลังรอวันเงินเดือนออกแล้ววนเป็นวัฏจักรเดิมอีกต่อไป และเมื่อมีเงินเหลือเมื่อไหร่ ก็อย่าลืมเก็บไว้เป็นเงินออมด้วยจ้า
ขอขอบคุณ kroobannok