
1. เ งิ น ช็ อ ต ตั้งแต่ต้นเดือน (นี่เงินเดือน หรือ เงินทอน)
คำพูดติดปาก ของคนที่เงินเดือนออกได้ไม่นาน เพราะ บิลค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าบ้าน ค่าโทรศัพท์ ค่าผ่อนรถ ค่าบัตรเครดิต ส่งมาถึงบ้านก่อนเงินเดือนจะออกซะอีก พอถึงเวลาที่เงินเดือนออก
แทนที่จะได้เก็บไว้กินไว้ใช้ แต่ก็ต้องมาจ่ายบิลต่าง ๆ อย ากหลีกเลี่ยงไม่ได้ เงินเดือนได้เป็นหมื่นแต่อาจจะได้ใช้จริงแค่ไม่กี่พันบาท
“ตกลงนี่มัน เงินเดือน หรือ เงินสัปดาห์ หรือเงินทอนแล้วจะอยู่ยังไงให้ถึงสิ้นเดือน”
-หากใครที่กำลังมีหนี้บัตรเครดิต โดยเฉพาะสินเชื่อเงินสด ซึ่งมีดอกเบี้ยสูงและดอกวิ่งตลอดทุกวัน ไม่ควรชำระแบบขั้นต่ำ เพราะจะมีดอกเบี้ยที่สูงกว่า แถมหมดช้า กว่าการจ่ายแบบโปะ
เพราะยิ่งโปะ หนี้ก็จะหมดเร็ว หากมัวแต่ชำระแบบขั้นต่ำ นอกจากจะหมดช้าแล้วดอกเบี้ยยังบานปลายตามไปด้วย
2. นึกไม่ออก เสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
เห้ย…นี่เพิ่งเบิกแบงก์พันมาใช้อยู่เลย ทำไมตอนนี้เหลือแค่แบงค์แดง แบงค์เขียว เอ๊ะ! นี่เราเอาเงินไปใช้ทำอะไรบ้าง? ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มักจะหลงลืม หรือ นึกไม่ออกว่าที่ผ่านมาใช้จ่ายอะไรไปบ้าง
นั่นเป็นสัญญาณหนึ่งที่อาจจะ เ งิ น ช็ อ ต แบบไม่รู้ เ นื้ อ รู้ตัว เพราะเราไม่มีการวางแผนการใช้จ่าย มีเท่าไหร่ใช้เต็มที่ ไม่คิดเผื่อหน้าเผื่อหลังไว้ พอรู้ตัวอีกที เราอาจไม่เหลือเงินสำรองไว้ใช้จ่าย
-ควรฝึกทำบัญชี รายรับรายจ่าย หรือ คอยบันทึกการใช้จ่ายของเราในแต่ละวัน หลายคนอาจจะมองว่า การบันทึกการใช้จ่าย มันเกี่ยวอะไรกับสัญญาณ เ งิ น ช็ อ ต เพราะการบันทึกค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน
จะทำให้เรารู้ว่าเราเสียค่าใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง ไม่ต้องมานั่งนึกให้เสียเวลา แถมยังได้รู้ด้วยว่า ค่าใช้จ่ายส่วนไหนบ้างที่ไม่จำเป็น หรือทำให้เกิดปัญหาทางการเงิน จะได้จัดการตัดทิ้งได้ทัน
3. รายรับไม่พอกับรายจ่าย
เมื่อรายจ่ายไม่สัมพันธ์กับรายรับที่เข้ามา จะเนื่องด้วยจากมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นทั้งแบบตั้งใจ และแบบไม่คาดฝัน แต่หากเมื่อไหร่ที่ รายจ่าย เพิ่มขึ้น แต่รายรับเท่าเดิม อีกไม่นาน สภาวะ เ งิ น ช็ อ ต ก็กำลังจะมาเยือนคุณ
-ควรหาช่องทางในการเพิ่มรายรับให้แก่ตัวเอง เพื่อให้เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้น อาจจะลองมองหา อาชีพเสริมต่าง ๆ ที่สามารถทำได้โดยไม่เบียดเวลางานประจำ หรือหากไม่สะดวกที่จะทำอาชีพเสริม
ลองมองหาข้าวของในบ้าน หรือ ของสะสม ที่พอจะขายได้ ขายออกไปก่อน นำเงินที่ได้เก็บไว้ใช้เป็นเงินก้อนสำรองก่อน
4. เริ่มชำระหนี้ล่าช้า
เมื่อค่าใช้จ่ายมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จากหนี้เก่าที่เคยชำระอย่างตรงเวลา ก็ต้องเริ่มแบ่งเงินไปจ่ายบิลอื่น ๆ ที่เข้ามาใหม่อีก ทำให้เงินในมือเริ่มน้อยลงไม่เพียงพอกับหนี้สินที่ยังไม่ได้จ่าย ทำให้การชำระหนี้ที่เหลืออาจล่าช้า หรือขาดการชำระไป
-เลือกจ่ายหนี้สินที่มีดอกเบี้ยสูง หรือ สินเชื่อเงินสดก่อน เพราะสินเชื่อพวกนี้จะมีดอกเบี้ยสูง ดอกวิ่งรายวัน หนี้ก็สูงตามมา
จ่ายยังไงก็ไม่หมดซักที การใช้บัตรกดเงินสด เหมาะสำหรับผู้ที่สามารถหาเงินมาชำระคืนทั้งหมดได้ในรอบบิลถัดไป เพราะดอกเบี้ยจะน้อย หรือ ไม่เสียดอกเบี้ย
5. ควักเงินเก็บออกมาใช้
หลังจากที่เงินเดือนหมดไปกับการจ่ายบิลต่าง ๆ หลังจากนี้หากใครที่มี เงินสำรอง หรือ เงินเก็บในมือ คงจำเป็นที่จะต้องควักเอาออกมาใช้ แต่วิธีนี้อาจจะไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน เนื่องจากบางคนไม่มีเงินเก็บสำรองนั่นเอง
-หลังจากที่ได้เงินเดือน ควรหักสัก 10% ของเงินเดือนทั้งหมด เพื่อเก็บออมไว้ใช้ในย ามที่เดือดร้อนจริง ๆ เพราะอย่างน้อยก็จะช่วยต่อลมหายใจของเราไปได้บ้าง
6. หนี้เริ่มดีดตัวสูงขึ้น
สอดคล้องกับข้อที่ผ่าน ๆ มา พอมีหนี้สินเริ่มสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ใช้หนี้เก่าไม่ทันจะหมด ก็มีหนี้สินใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก เนื่องจากก่อหนี้ใหม่เพื่อนำเงินมาโปะหนี้เดิม จึงทำให้หนี้สินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
-หยุดใช้วิธีสร้างหนี้ใหม่ เพื่อมาโปะหนี้เก่า เพราะนอกจากหนี้เก่าจะไม่หมดแล้ว หนี้ใหม่ก็เพิ่มขึ้นเหมือนดินพอกหางหมู หากเราแก้ไขปัญหาโดยไม่สร้างหนี้เพิ่ม อย่างน้อยก็จะช่วยชะลอไม่ให้หนี้สินเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
7. ไปกันเถอะ..วันหยุดอย ากนอนอยู่บ้าน
วันหยุดสุดสัปดาห์ มีเพื่อน ๆ โทรมาชวนไปเที่ยว ด้วยความที่เงินเดือนของเราเหลือน้อย จึงปฏิเสธเพื่อนไปเบา ๆ ว่ามีธุระบ้าง อย ากนอนอยู่บ้านชิว ๆ บ้าง แต่ความจริงแล้วในใจก็อย ากออกไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ เหมือนกัน
-ลองหาอะไรสนุก ๆ ระหว่างอยู่บ้าน เช่น ดูหนัง เล่นเกมส์ อ่ านหนังสือ ออกกำลังกาย เล่นโยคะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้ที่บ้าน จะได้จิดใจไม่ฟุ้งซ่าน หรือคิดที่อย ากจะออกไปไหนเพื่อเป็นการลดการใช้เงิน
8. เพื่อนๆตอนนี้เรามีปัญหา มีให้ยืมสัก…?
อีกหนึ่งสัญญาณ ที่หลายคนที่เคยอาจเจอสภาวะ เ งิ น ช็ อ ต มาก่อน น่าจะเคยทำ คือ การคิดที่จะยืมเงิน หรือ กู้เงินจากเพื่อน บางคนยืมเงินเพื่อนเป็นว่าเล่น บางคนกว่าจะพูดขอยืมได้ก็ตะขิดตะขวงใจ เพราะด้วยความที่เกรงใจเพื่อน เพราะเรื่องแบบนี้ทำให้เพื่อนผิดใจกันมานักต่อนักแล้ว
-การยืมเงินเพื่อน อย่างน้อยเราต้องดูก่อนว่า เพื่อนคนนั้นพอจะมีศักยภาพที่จะให้เรายืมเงินหรือไม่ นอกจากนี้หากเรารับปากว่าจะคืนเงินเมื่อไหร่ก็ต้องเป็นไปตามคำพูด ไม่ควรหลบหน้าหลบตาหรือหายไปเงียบ ๆ
หากเรายังไม่มีคืนตามเวลาที่กำหนด ควรจะบอกให้เพื่อนรู้ อย่างน้อยก็เป็นการแสดงความจริงใจ และจะได้ไม่มีเรื่องผิดใจกันในอนาคต
9. หางานใหม่ดีกว่า
มีใครเคยเป็นมั้ย?…อย ากหางานใหม่ที่เงินเดือนเยอะกว่าเดิม เพื่อจะได้มีเงินมารองรับรายจ่ายที่มี แต่การหางานใหม่ใช่ว่าจะหากันได้ง่าย ๆ เดี๋ยวนี้มีข่าวตกงาน เลิกจ้าง มีให้เห็นทุกวัน
-การหางานใหม่ เพื่อให้ตัวเองก้าวหน้าในหน้าที่การงาน พร้อมเงินเดือนที่มากขึ้นกว่าเดิม ย่อมเป็นโอกาสที่ดี แต่การหางานใหม่ อาจไม่ใช่การแก้ไขปัญหา เ งิ น ช็ อ ต ที่ต้นเหตุ
วันนี้อาจจะได้งานใหม่ที่เงินเดือนเพิ่มขึ้น แต่หากเราไม่มีวินัยในการใช้จ่าย เชื่อว่าเงินเดือนมากขึ้นแค่ไหน ก็ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นตาม
ขอขอบคุณ h e n g l e a s i n g